ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวายบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

Main Article Content

จุฑารัตน์ อันวิเศษ
จิราพร ระโหฐาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง 2) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการลาออกของพนักงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ กลุ่มพนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 334 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอยพหุคุณ  ผลการวิจัยพบว่า ผลวิจัยพบว่า 1) พนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการภายในองค์กร อยู่ในระดับมาก ( = 4.10) 2) พนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) มีความตั้งใจลาออกจากงาน ที่แตกต่างกันตามลักษณะส่วนบุคคล ด้านรายได้ และสถานภาพสมรส มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y) ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (β = 0.26) และด้านความพึงพอใจในงาน (β = 0.24) พบว่ามีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวาย (Generation Y)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
อันวิเศษ จ., & ระโหฐาน จ. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานเจเนอเรชันวายบริษัทผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 205–217. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/177880
บท
บทความวิจัย

References

ธนเดช ทองนิรันดร์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ. (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ).

ธวัชชัย บุญเพิ่มราศี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการตั้งใจลาออกจากงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

ปรีญานุช สมนึก และ ลัดดาวัลย์ สำราญ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของพนักงานในธุรกิจถ่านหินเขต ภาคกลาง. วารสารบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 54-64.

พงษ์จันทร์ ภูษาพาณิชย์. (2553). คุณลักษณะของบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพ ความพึงพอใจในงาน กับความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานวิจัย, สาขาจิตวิทยา คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ภราดี บุตรศักดิ์ศรี. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในงานและแนวโน้มที่จะลาออกจากองค์การของพนักงานในกลุ่มธุรกิจบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิโรจน์ สิมะทองธรรม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพนักงานกลุ่มคนรุ่นใหม่ของธนาคารพาณิชย์ไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(2). 1-12.

วรรณวิสา ดำรงสกุลวงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในอุตสาหกรรมฟอกหนัง กรณีศึกษา บริษัท อินเตอรไฮค์จํากัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเนชั่น).

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2559). รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายไตรมาส อุตสาหกรรมรถยนต์. (ปี 2559-2561).

ชลภัสสรณ์ ศรีวรฉัตรภาธร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานแผนกห่วงโซ่อุปทาน :กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(1). 185-200.

อิสริยาภรณ์ วรรณะและสุจิตรา จันทนา. (2557). สภาพการจ้างที่มีความสัมพันธ์กับการออกจากงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนเทเรซา).

Cho, S., Johanson, M. M. & Guchait, P. (2009). Employees intent to leave: A comparison of determinants of intent to leave versus intent to stay. International Journal of Hospitality Management, 28,374-381.

Farris, G. F. (1971). A predictive study of turnover. Personnel Psychology, 24, 311-328.

Marxen, D. E. (1996). The big 6 experience; A retrospective account by alumni. Accounting Horizons, (june), 73-78.

Nadiri, H. & Tanova, C. (2010). An investigation of the role of justice in turnover intentions, job satisfaction, and organization citizenship behavior in hospitality industry. International Journal of Hospitality Management, 29(1), 33-41.

Taro, Y. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publication.

Wanous. (1979). The pay level affects the adjustment of new entrants. Journal of vocational behavior, 17(3), 263-290.