แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย

Authors

  • ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม

Keywords:

ความฉลาดทางวัฒนธรรม, บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ, การพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรม, Cultural Intelligence, Big-Five Personality, Development of Cultural Intelligence

Abstract

ความฉลาดทางวัฒนธรรม เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถปรับตัวในการทำงานในองค์กรที่มีความหลากหลายทางภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาและจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานสากลในอนาคต การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาแนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับความฉลาดทางวัฒนธรรมเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 789 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 10 คน และนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบของการวิจัยผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยมีระดับความฉลาดทางวัฒนธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X¯= 3.47, S.D.= 0.56) โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 3.66 (S.D. = 0.65) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบทุกแบบมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางวัฒนธรรมในภาพรวม โดยบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์ในทางบวกสูงที่สุด (r = .505) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 สำหรับแนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย สังเคราะห์ได้ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การกำหนดให้ความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับบัณฑิตทุกคน (2) การเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรม (3) การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ และการจัดหาทรัพยากรที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรม และ (4) การสร้างและเพิ่มพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างแดน

THE DEVELOPMENT OF CULTURAL INTELLIGENCE OF UNDERGRADUATE STUDENTSIN THE WESTERN REGION OF THAILAND

Cultural Intelligence is one of the key factors that make a person able to adapt to working in organizations with diverse languages, races and cultures. In order to prepare for undergraduate students who are studying and will being a new jobber in the global labor markets in the future, this research study focused on the development of cultural intelligence of undergraduate students in the western region of Thailand and studied the relationship between the Big-Five Personality and Culture Intelligence. The data were collected from a sample of 789 people and had the interviews with 10 Human Resource Executives. Then the results of two data analysis were synthesized in order to find out the answer of the research study. The study found that undergraduate students in the western region of Thailand had the overall cultural intelligence in moderate level ( = 3.47, S.D. = 0.56) and motivational cultural intelligence had the highest mean at 3.66 (S.D. = 0.65). Big-Five personality factors correlated with cultural intelligence in overall and the openness to experience personality had highest positively correlation with cultural intelligence (r = .505) that defined statistic significant level at .01. For the development of cultural intelligence of undergraduate students in the western region of Thailand were synthesized into four categories: (1) determining the culture intelligence as required skill for graduated students; (2) enhancement of teaching that promotes the development of culture intelligence (3) development of innovative learning medias and materials, and providing resources to support learning and development of cultural intelligence and (4) establishing networks and enhancing learning space in abroad.

Downloads

How to Cite

อธิคมสุวรรณ ศ. (2016). แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 5(1), 92–104. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95228