การใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างทางผลิตภัณฑ์ด้านดนตรีเพื่อสร้างชื่อเสียง ของวงดนตรีพาราไดซ์ แบงค็อก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนล

Authors

  • ตรีทิพ บุญแย้ม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปุญญวาสน์ มโนมัยพิบูลย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุภาพร ฉิมหนู วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นัยนก บัวใหญ่รักษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กวี สุนทรวรรณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การสร้างความแตกต่างทางผลิตภัณฑ์, ดนตรี, การสร้างชื่อเสียง, the product differentiation, music, reputation formation

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างความแตกต่างของวงดนตรีพาราไดซ์ แบงค็อก หมอลำอินเตอร์เนชันแนล และเพื่อตรวจสอบแนวคิดเบื้องต้นของการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ด้านดนตรีของเอาท์แคสท์กับการสร้างความแตกต่างของวงดนตรีพาราไดซ์ แบงค็อก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนลซึ่งเป็นวงดนตรีชาวไทยที่มีชื่อเสียงในระดับสากล ด้วยการวิจัยแบบสืบเสาะ (exploratory research) ซึ่งใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งวงดนตรี ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในบทสัมภาษณ์และบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2557 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ร่วมกับการศึกษาเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่าวงดนตรีพาราไดซ ์แบงค็อก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนล มีแนวทางในการสร้างความแตกต่างเพื่อสร้างชื่อเสียงสำ คัญ คือการวางแนวเพลงที่ตรงกับความต้องการตลาด การแสดงสดที่สนุกมีเอกลักษณ์ และการใช้เครือข่ายทางดนตรี ในขณะที่การตรวจสอบแนวคิดเบื้องต้นของการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ด้านดนตรีของเอาท์แคสท์กับวงดนตรีพาราไดซ์ แบงค็อก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนล พบว่ามีควาสอดคล้องในองค์ประกอบด้านรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ รูปลักษณ์ของวงดนตรี โอกาสจากความร่วมมือ การสร้างความจดจำ และการรับรู้ของลูกค้า ในขณะที่ด้านบริการส่วนเพิ่มยังไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน

THE DIFFERENTIATION STRATEGIES OF MUSICAL PRODUCT FOR REPUTATION FORMATION: A CASE OF THE PARADISE BANGKOK MOLAM INTERNATIONAL BAND

This study has the objectives to investigate the differentiation methods of the Paradise Bangkok Molam International band and also examined how the concept of the OUTKAST’s 6 strategies for product differentiation can be applied to this band. With exploratory research design, qualitative data were collected from the interviewing the record label founder and analyzed the content from the articles that published in Newspapers between January 1, 2014 – August 31, 2015, also collected quantitative data from 30 samples for investigated the congruence between the concept and the data. The results shown that the Paradise Bangkok Molam International band has made their reputation by produced the music that in line with the market demand, good performance on stage and used the connection and partnership. For the concept testing, this band has used five product differentiation strategies that matched the concept of the OUTKAST’s strategies which are unique feature, product form and packaging, partnership opportunities, memorability and branding, and customer perceptions. However, the clear evidences of the application of the accompanying services were not found.

Downloads

How to Cite

บุญแย้ม ต., มโนมัยพิบูลย์ ป., ฉิมหนู ส., บัวใหญ่รักษา น., & สุนทรวรรณ ก. (2016). การใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างทางผลิตภัณฑ์ด้านดนตรีเพื่อสร้างชื่อเสียง ของวงดนตรีพาราไดซ์ แบงค็อก หมอลำ อินเตอร์เนชันแนล. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 5(1), 9–24. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95222