อิทธิพลของภาพลักษณ์ของประเทศปลายทางที่มีต่อการรับรู้คุณค่าและ แรงจูงใจในการเข้าร่วมโปรแกรม Work and Travel ของนักศึกษาไทย
Keywords:
การรับรู้คุณค่า, ภาพลักษณ์ของประเทศปลายทาง, แรงจูงใจในการเดินทาง, การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ, การรับรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย, Perceived Value, Destination Image, Travel Motivation, Perceived Benefits, Perceived CostAbstract
โปรแกรม Work and Travel เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นโครงการที่นำนักศึกษาไปทำงานต่างประเทศในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน โดยมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการการรับรู้ถึงคุณค่าของโปรแกรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของโปรแกรม การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุง่ หมายหลักที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของประเทศที่เดินทางไปประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่าค่าเสียเวลาซึ่งรวมถึงเวลา ความทุ่มเท และความเสี่ยง กับการรับรู้ถึงคุณค่าและแรงจูงใจที่จะเดินทางไปกับโปรแกรมฯ โดยใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาไทยชั้นปีที่ 4 จำนวน 351 คนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่าภาพลักษณ์ของประเทศในด้านความเชื่อ และประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการส่งผลกระทบทั้งต่อการรับรู้คุณค่าของโปรแกรมฯ และแรงจูงใจที่จะเดินทางไปกับโปรแกรมฯ ในขณะที่ค่าเสียเวลาส่งผลกระทบต่อการรับรู้คุณค่าของโปรแกรมฯ และภาพลักษณ์ของประเทศในด้านความรู้สึก และค่าใช้จ่ายทั้งที่เปน็ตัวเงินและค่าเสียเวลาส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจที่จะเดินทางไปกับโปรแกรมฯ
Influences of Destination Image on Thai Students’ Perceived Value and Travel Motivation on the Work and Travel Program
Work and Travel is known as a program that brings students to work abroad during summer session. As the program is operated by the private firms, students' perception and reaction on the program are important in term of the prediction on the sustainability of the business. This research aims to study the relationships between destination image, perceived benefits and perceived monetary and non-monetary cost,which are time, effort, and possible risk, on perceived value and travel motivation. Questionnaire suvery was designed where 351 sets of data were collected from the Thai,forth-year students of a University. The results indicated that destination beliefs and perceived benefits affected both perceived value on the program and travel motivation while non-monetary costs affected perceived value on the program and affective destination image and monetary costs affected travel motivation to join with the program.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง