การจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อลดการใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงให้ตํ่าสุด ภายใต้ข้อจำกัด ในการบรรทุกสินค้า: กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค

Authors

  • พรพรรณ โตโภชนพันธุ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Keywords:

การจัดเส้นทางการเดินรถภายใต้เงื่อนไขจำกัด, วิธีการฮิวริสติกส์, วิธีมูลค่าประหยัด, อัตราการสิ้นเปลืองนํ้ามัน, Capacitated Vehicle Routing Problem, Heuristics Method, Savings Algorithm, Fuel Consumption Rate

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคของบริษัท กรณีศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง โดยเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทำการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าตามจุดต่างๆ จำนวน 77 จุด ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องความสามารถในการบรรทุกโดยพิจารณาเรื่องนํ้าหนักและปริมาตรสินค้าให้มีการใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงที่น้อยที่สุด และส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายรวมในการขนส่งลดลง โดยในอดีตพบว่า การจัดเส้นทางแบบเดิม มีการจัดเส้นทางการเดินรถที่ใช้ประสบการณ์ของบุคลากรเป็นหลัก อาจจะมีประสิทธิภาพที่ยังไม่ดีพอดังนั้น ผู้ศึกษาจึงได้เลือกการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถวิธีฮิวริสติกส์ โดยใช้วิธีมูลค่าประหยัด (Savings)ของ Clarke and Wright มาสร้างแบบการจัดเส้นทางการเดินรถเบื้องต้น และนำความสัมพันธ์ระหว่างนํ้าหนักที่บรรทุกกับอัตราการสิ้นเปลืองนํ้ามันของรถ (Fuel Consumption Rate) มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงเส้นทางช่วยในการจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อลดอัตราการสิ้นเปลืองนํ้ามันการทดสอบผลลัพธ์ได้ใช้ข้อมูลจากอดีตในช่วงเดือน ตุลาคม 2556 – เดือน ธันวาคม 2556 (ข้อมูล 3 เดือนจำนวน 14 สัปดาห์) มาทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์การจัดเส้นทางการเดินรถแบบเดิมกับการใช้วิธีการแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมา พบว่า ระยะทางที่ได้จากการจัดเส้นทางการเดินรถแบบใหม่ลดลงจากเดิม คือ 5,648.3กิโลเมตรต่อเดือนเป็น 4,426.5 กิโลเมตรต่อเดือน คิดเป็น 21.63% อัตราการสิ้นเปลืองนํ้ามันแบบใหม่ลดลงจากเดิม คือ 372.8 ลิตรต่อเดือน เป็น 267.5 ลิตรต่อเดือน คิดเป็น 28.23% ค่าใช้จ่ายรวมในการขนส่งแบบใหม่ลดลงจากเดิม คือ 31,462.9 บาทต่อเดือน เป็น 27,757.7 บาทต่อเดือน คิดเป็น 11.78% และทำให้เวลาที่ใช้ในการขนส่งแบบใหม่ลดลงจากเดิมคือ 112.9 ชั่วโมงต่อเดือน เป็น 88.5 ชั่วโมงต่อเดือน คิดเป็น 21.63% ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเส้นทางการเดินรถได้ดี และการจัดเส้นทางแบบใหม่นี้มีความเข้าใจง่าย ทำให้พนักงานในบริษัทกรณีศึกษา สามารถนำไปใช้ในการทำงานจริงได้

MINIMIZATION OF FUEL CONSUMPTION FOR THE CAPACITATED VEHICLE ROUTING PROBLEM: CASE STUDY OF A CONSUMER PRODUCT COMPANY

This research aims to solve the Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) of a company that distributes consumer products from its distribution center to multiple customers about 77 customers with a main objective to minimize the fuel consumption. In the past, distribution route is not efficient since it has been constructed by using experience of staff. Accordingly, in this research, we intend to develop heuristics –based approaches using the combination of Savings Algorithm proposed by Clark and Wright together with Fuel Consumption Rate in order to minimize the fuelcost. We tested all algorithms by using historical records for 3 months from October to December 2013 to compare the result of routes to identify their efficiency. From the experiment, total distance can be reduced from 5,648.3 kilometer per month to 4,426.5 kilometer per month or 21.63%, fuel consumption can be reduced from 372.8 liter per month to 267.5 liter per month or 28.23%, total transportation cost can be reduced from 31,462.9 baht per month to 27,757.7 baht per month or 11.78%, and time consumption can be reduced from 112.9 hour per month to 88.5 hour per month or 21.63%. The proposed methods are efficient and can be practically applied in the company.

Downloads

How to Cite

โตโภชนพันธุ์ พ. (2015). การจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อลดการใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงให้ตํ่าสุด ภายใต้ข้อจำกัด ในการบรรทุกสินค้า: กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 4(1), 92–101. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95125