การจัดการเชิงกลยุทธ์และปัจจัยความสำเร็จ: กรณีศึกษาสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)

Authors

  • ไกรสิทธิ์ สิงห์ยะบุศย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

การจัดการเชิงกลยุทธ์, ปัจจัยความสำเร็จ, สภาพแวดล้อ, พิพิธภัณฑ์, สำนักกงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน), Strategic management, success factor, environment, museum, The Golden jubilee Museum of Agriculture Office

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็ง จุดอ่อน) และภายนอก (โอกาส อุปสรรค) ที่ส่งผลต่อสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำกลยุทธ์ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) ไปปฏิบัติ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงที่มีชีวิต โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อพิพิธภัณฑ์สำนักงานเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มบุคลากรในองค์การ คือ เจ้าหน้าที่ จำนวน 22 คน เก็บข้อมูลด้วยการมีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์การ คือ บุคคลตัวแทนของศูนย์การเรียนรู้ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)ผลการศึกษา พบว่า สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำแผนแม่บทตามกระบวนการการจัดการเชิงกลยุทธ์ และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือ (1) การจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและกิจกรรมการเรียนรู้เกษเศรษฐกิจพอเพียง (2) การถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง (3) เครือข่าย และสมาชิกเครือข่ายที่เข้มแข็ง (4) บุคลากรมีความรู้ มีจิตใจบริการ ปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่ ยืดหยุ่น ช่วยงานซึ่งกันและกัน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) ควรมุ่งเน้นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาการตลาด โดยใช้ผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้า กลยุทธ์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาคุณภาพ คุณสมบัติ คุณลักษณะ กลยุทธ์ด้านการเจาะตลาด นำผลิตภัณฑ์เดิม ลูกค้ากลุ่มเดิม เพิ่มปริมาณการใช้ ความถี่ และวิธีใช้ กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ สร้างความได้เปรียบด้านราคา กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง สร้างภาพลักษณ์ใหม่ และกลยุทธ์มุ่งเฉพาะส่วน พัฒนาสินค้าเฉพาะสำหรับลูกค้าเฉพาะตลอดจนควรมุ่งปฏิบัติกลยุทธ์เครือข่ายและภาคีความร่วมมือกลยุทธ์พัฒนาองค์ความรู้ กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มผู้รับบริการ

STRATEGIC MANAGEMENT AND KEY SUCCESS FACTORS: A CASE STUDY OF THE GOLDEN JUBILEE MUSEUM OF AGRICULTURE OFFICE (PUBLIC ORGANIZATION)

The purposes of this research were (i) to study a strategic management of The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization), (ii) to investigate internal environment factors (strengths and weaknesses) and external environment (opportunities and threats) effecting The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization) , (iii) to examine the success factors in implement the strategies of The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization) and (iv) to approach the strategic management to develop The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization) as a learning center of agriculture in sufficiency economy as live. This research was done through qualitative research to study The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization)’s stakeholders using purposive sampling methods divided into two groups are 22 organization’s officers collecting data by participation in the workshop and 12 stakeholders who are representatives of learning centre and the museum’s network collecting data by in-depth interview. The study was revealed that The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization) developed a model scheme under a strategic management process and the success factors to implement strategies are (i) to organize various activities and learning activities based on sufficiency economy philosophy, (ii) to publish cognitive knowledge of agriculture in sufficiency economy, (iii) to build strong network and network’s members and (iv) to executive with expertise in strategic management and friendly officials who can rotate job role, flexibility and help each other. Some suggestion bases on the result of this study are The Golden jubilee Museum of Agriculture Office (Public Organization) should focus on (i) market development strategy by using competitive existing products and increase market share, (ii) product development strategy by improve and develop quality (iii) low-cost strategy to compete with lower price, (iv) differentiation strategy driven by rebranding, (vi) focus strategy by development only museum’s products to attract the focus group, (vii) network and collaboration strategy, (viii) cognitive knowledge strategy, (ix) public relation strategy and (x) marketing strategy to increase the visitors.

Downloads

How to Cite

สิงห์ยะบุศย์ ไ. (2014). การจัดการเชิงกลยุทธ์และปัจจัยความสำเร็จ: กรณีศึกษาสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน). Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 3(1), 41–50. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95105