การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพของงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Authors

  • ชัยณรงค์ ธนานุรัตน์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

Keywords:

ผลการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ, งานกิจการนักศึกษา, Balanced Scorecard (BSC), Student Affairs

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพของงานกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพของงานกิจการนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) จากการเก็บแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-22 ปี และพบว่า กิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีผลการ ปฏิบัติงานใน มิติด้านการเงิน มากที่สุด และ มิติด้านลูกค้า/ผู้รับบริการ น้อยที่สุด ในขณะที่ กิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลมีการปฏิบัติงานใน มิติด้านการเงิน มากที่สุด และ มิติด้านกระบวนการภายใน น้อยที่สุด นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า กิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีผลการปฏิบัติงานใน 4 มิติคือ มิติด้านการเงิน มิติด้านลูกค้า/ผู้รับบริการ มิติด้านกระบวนการภายใน และมิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนาแตกต่างจากผลการปฏิบัติงานของกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีผลการปฏิบัติงานใน 4 มิติมากกว่าผลการปฏิบัติงานของกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

THE COMPARISON OF BALANCED SCORECARD IMPLEMENTATION IN THE STUDENT AFFAIRS AT NAKHON RATCHASIMA RAJABHAT UNIVERSITY AND VONGCHAVALITKUL UNIVERSITY

This research aimed to study the use of balanced scorecard (BSC) as a strategic working tool being implemented in the Student Affairs work at NakhonRatchasimaRajabhat University (NRRU) and Vongchavalitkul University (VU) with a comparison between the two institutions. Data was collected through a questionnaire from a group sample, which a majority of the respondents were females whose age was between 21-22 years old. The results revealed that the Student Affairs at NRRU adopted BSC in the area of finance at most while the learning & development area at the least. Similarly, VU had adopted BSC in the financial area at the most, while the least area was the internal process. In addition, the Student Affairs work at NRRU illustrated statistically significant differences at 0.05 in four areas of finance, customer, internal process, and learning & development in comparison with VU.

Downloads

How to Cite

ธนานุรัตน์ ช. (2014). การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพของงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 3(1), 22–32. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95102