การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาด และภาพลักษณ์ขององค์การ ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการกล่องรับสัญญาณดาวเทียม GMM Z และ SunBox ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ภาพลักษณ์องค์การ, กล่องรับสัญญาณดาวเทียม, ส่วนประสมทางการตลาด, Corporate Image, Satellite Box, Marketing MixAbstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาด และภาพลักษณ์ขององค์การต่อการตัดสินใจ เลือกใช้ บริการกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์ขององค์การ และเปรียบเทียบอิทธิพลของปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกบริการกล่องรับสัญญาณดาวเทียมระหว่าง GMM Z และ SunBox ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด กับกลุ่มตัวอย่าง จากผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี และมีสถานภาพโสด โดยส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและมีอาชีพพนักงานเอกชนมากที่สุด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท และพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 - 4 คน มากที่สุด โดยมีการเลือกใช้บริการกล่องรับสัญญาณดาวเทียมส่วนใหญ่เลือก GMM Z มากกว่า SunBox คิดเป็นร้อยละ 79.8 และ 20.2 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้ที่ตัดสินใจเลือกใช้บริการ กล่องรับสัญญาณดาวเทียมแตกต่างกันจะให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผู้ที่ตัดสินใจเลือกใช้บริการกล่องรับสัญญาณดาวเทียมต่างกันจะรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัทผู้ให้บริการแตกต่าง กันจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
THE COMPARATIVE OF MARKETING MIX AND CORPORATE IMAGE THAT AFFECTING TO SATELLITE BOX BUYING DECISION MAKING BETWEEN GMM Z AND SUNBOX OF CONSUMER IN BANGKOK AREA
The study of “The Comparative of Marketing Mix and Corporate Image that Affecting to Satellite Box Buying Decision Making Between GMM Z and SunBox of Consumer in Bangkok Area” has the objectives that to study the influencing level of marketing mix and corporate image, and also compare the factors that consumers using for buying the satellite boxes between GMM Z and SunBox. This study was descriptive research and collecting data from the 400 samplings with questionnaire. The results revealed that the participants were mostly female, age around 26 - 35 year-old, single with undergraduate level of education. They were mostly worked as private employees and had income around 10,001 - 20,000 Baht per month. They had family members around 3 - 4 persons and decided to using GMM Z satellite box (79.8%) more than SunBox (20.2%). From the hypotheses testing, it found that the consumers who selected different satellite box, they didn’t perceived level of marketing mix differently with statistic significant at .05 level. While the consumers who selected different satellite box will perceived corporate image of satellite service provider different significantly at .05 level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง