คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ : กรณีศึกษา สถานประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • พรมิตร กุลกาลยืนยง คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ
  • วาสนา ศรบุญทอง คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ
  • กรรณิการ์ เซ่งเข็ม คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, นิคมอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานที่ทำงานในสถาน
ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ระดับความผูกพัน
ต่อองค์การของพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมใน
จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่ทำงานในสถาน
ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ โดยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ
ทีใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบ
การที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม
บางปู นิคมอุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ) จำนวน 20 บริษัท โดยทำการเก็บ
แบบสอบถามบริษัทละ 20 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง และมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าคุณภาพชีวิตใน
การทำงานด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น การพัฒนาสมรรถนะของพนักงาน ความก้าวหน้าและ
ความมั่นคงในงาน ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และความร่วมมือในการทำงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ
ในภาพรวมในระดับจากมากไปน้อยเรียงตามลำดับและมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมได้ร้อยละ 58.5
ผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการสามารถนำผลการวิจัยไปใช้
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์การต่อไป คณะผู้วิจัยมี
ข้อเสนอให้บริษัทมีการกำหนดแผนงานต่าง ๆ ล่วงหน้า ให้สิทธิ์พนักงานลาฉุกเฉินได้ ให้รางวัลประเภทที่ไม่ใช่ตัวเงิน
พัฒนาสมรรถนะพนักงาน สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม

References

Alattat, A. R., Som, A. P. M., & Halalat, A. S. (2014). Higher dissatisfaction, higher turnover in the hospitality industry. International Journal of Academic Research in Business and Social Science, 4(2), 45-52.

Bank of Thailand. (2018). Total Value and Quantity of Exports Classified by Product Group. Retrieved from http://www2.bot.or.th/statistics/.

Berger, L. A., & Berger, D. R. (2008). The compensation handbook: A state-of-the-art guide to compensation strategy and design. New York: McGrawHill.

Castells, M., & Peter H. (1994). Technopoles of the world: The making of twenty first century Industrial Complexes. New York: Routledge.

Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques. New York: John Wiley and Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3),297-334.

Clutterbuck, D., & Megginson, D. (2005). How to create a coaching culture. People Management.11(8), 44-45.

Daniels, K. (2013). Employee relations in an organizational context: A new approach to industrial relations. London: The Chartered Institute of Personnel and Development.

Daud, N. (2010). Investigating the relationship between quality of work life and organizational commitment amongst employees in Malaysian firms. International Journal of Business and Management, 10(10), 75-82.

Department of Labour Protection and Welfare. (2018). National Wage Committee’s Notification on Minimum Wage Rate (No. 9). Retrieved from https://www.labour.go.th.

Dubrin, R., Champoux, J.E., & Porter, L.W. (1981). Central life interests and organizational commitment of bull-collar and clerical workers. Administrative Science Quarterly, 20, 411-421.

Eastern Economic Corridor (EEC) Office. (2018). Eastern Economic Corridor Development Project. Retrieved from www.eeco.or.th.

Eisenberger, R., Fasolo, P., & Mastro, V.D. (1990). Perceived organizational support and employee diligence, commitment, and innovation. Journal of Applied Psychology, 75(1), 51-59.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. (7thed.). New York: Pearson.

Huang, T.G., Lawler, J., & Lei, C.Y. (2007). The effects of quality of work life on commitment and Turnover Intention. Social Behavior and Personality, 35(6), 735-750.

Huse, E., & Cumming, T. (1985). Organization development and change. Minnesota : St-Paul West.

Huselid, M.A., & Day, N.E. (1991). Organizational commitment, job involvement, and turnover: A substantive and methodological analysis. Journal of Applied Psychology, 76(3), 380-391.

Kasikornbank. (2018). K SME Analysis. Retrieved from https://www.kasikornbank.com/th/.pdf

Kulkalyuenyong, P. (2016). The importance of employee engagement in the hospitality industry. Dusit Thani College Journal, 10(1), 269-282.

Marta, J. K. M., Singhapakdi, A., Lee, D. J., Sirgy, M. J., Koonmee, K.., & Virakul, B. (2013). Perceptions about ethics institutionalization and quality of work life: Thai versus American marketing managers. Journal of Business Research, 66, 381–389.

Meyer, J.P., & Allen, N.J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 1(1), 61-89.

Owoyemi, O. A., Oyelere, M., & Elegbede, T. (2011). Enhancing employee’s commitment to organization through training. International Journal of Business and Management, 6(7), 280-286.

Rodrigues, M. V. C. (2002). Qualidade de vida no trabalho. Petr.polis: Vozes.

Schneider, B., & Barbera, K.M. (2014). The oxford handbook of organizational climate and culture. New York: Oxford University Press.

Sirgy, M.J., Efraty, D., Siegel, P., & Dong-Jin, L. (2001). A new measure of quality of work life (QWL) based on need satisfaction and spillover theories. Social Indicators Research, 55(3), 241-302.

Srisa-art B. (2011). Basic Research. Bangkok: Srisuriyasarn.

Steers, R.M. (1997). Introduction to Organization Behavior. New York : Harper Collin.

Tarigan, V., & Ariani, D. W. (2015). Empirical study of the relations between job satisfaction, organisational commitment and turnover intention. Journal of Advances in Management and Applied Economics, 5(2), 21-42.

Truss, C., Delbridge, R., Alfes, K., Shanntz, A., & Soane, E. (2014). Employee engagement in theory and practice. New York: Routledge.

Tulasi, D.V., & Vijayalakshmi, C. (2013). Quality of work life: a strategy for good industrial relations. Advances in Management, 6(11), 8-15.

Walton. R.E. (1974). Improving the quality of work Life. Harvard Business Review, 52(3), 12-16.

Welch, M., & Jackson, P.R. (2007). Rethinking internal communication: A stakeholder approach. Corporate Communications: An Internal Journal, 12(2), 177-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-19

How to Cite

กุลกาลยืนยง พ., ศรบุญทอง ว., & เซ่งเข็ม ก. (2019). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ : กรณีศึกษา สถานประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 8(2), 215–229. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/230252