รูปแบบเชิงเหตุผลที่มีผลต่อพฤติกรรมความภักดีของผู้บริโภค ร้านสะดวกซื้อแฟรนไชส์: กรณีศึกษาเขตบางแค กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ปริญ ลักษิตามาศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ผู้บริโภค, ความพึงพอใจ, พฤติกรรมความภักดี, ร้านสะดวกซื้อแฟรนไชส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความพึงพอใจ และ
พฤติกรรมความภักดีของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อแฟรนไชส์ กรณีศึกษาเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร บริเวณร้านสะดวก
ซื้อแฟรนไชส์ 3 ร้านสะดวกซื้อได้แก่ เซเว่นอิเลฟเว่น แฟมิรี่มาร์ท และลอร์สัน-ร้อยแปดช็อป ใช้สถิติวิเคราะห์
โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM—structural equation modeling) จากขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการศึกษา
พบว่า ประสบการณ์ของผู้บริโภคส่งผลต่อความพึงพอใจ สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจได้ ร้อยละ 68.7
ส่วนประสบการณ์ของผู้บริโภคไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมความภักดี แต่ประสบการณ์ของผู้บริโภคส่งผลต่อพฤติกรรม
ความภักดีทางอ้อมผ่านความพึงพอใจ โดยสามารถอธิบายพฤติกรรมความภักดีของผู้บริโภคได้ร้อยละ 23.4 ผลจาก
การศึกษาดังกล่าวร้านสะดวกซื้อแฟรนไชส์สามารถนำผลการศึกษามาวางแผนการกำหนดกิจกรรม
เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค โดยสร้างอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับสร้างความสะดวกสบายและรวดเร็ว
เพิ่มมากขึ้นให้ผู้บริโภค และเน้นการให้บริการจากพนักงานขายเพิ่มยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27

How to Cite

วราธรไพบูลย์ ธ., & ลักษิตามาศ ป. (2019). รูปแบบเชิงเหตุผลที่มีผลต่อพฤติกรรมความภักดีของผู้บริโภค ร้านสะดวกซื้อแฟรนไชส์: กรณีศึกษาเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 8(1), 194–205. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/198440