การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และ สภาพปัญหาของการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 260 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความความเหมาะสม และความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดแนวทางการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 ด้าน 56 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านกำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาการศึกษา 4) ด้านการประกันคุณภาพภายใน 5) ด้านการนิเทศพัฒนาการศึกษา 6) ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ 2) ด้านการกำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และ 3) ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ผลการศึกษาสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการนิเทศพัฒนาการศึกษา และด้านการกำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
3. การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประกอบด้วยแนวทางการมีส่วนร่วมด้านวิชา 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านการกำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษามี 4) ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 5) ด้านการนิเทศพัฒนาการศึกษา 6) ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด แต่มีเพียงหนึ่งด้านเท่านั้นที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษา
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร