การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

ฑิววัฒ สีลุนทอง
เพ็ญนภา สุขเสริม
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 335 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie & Morgan และมีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ .434–.760 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .967 และ 2) แบบสอบถามประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 อำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ .533–.808 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเป็นต้นแบบผู้นำตนเอง ด้านการกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายตนเอง ด้านการส่งเสริมความเป็นผู้นำตนเองผ่านการทำงานเป็นทีม ด้านการสร้างรูปแบบความคิดเชิงบวก ด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำตนเองด้วยการให้รางวัลและการตำหนิที่สร้างสรรค์ ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง และด้านการเป็นผู้นำตนเอง 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ด้านการปรับเปลี่ยนและพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ด้านการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา ด้านการพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และด้านการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก ในทิศทางบวก (r = 0.847) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จัตุพงษ์ เกษมสุข. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 37–51.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานคนรินทร์, 27(2), 119–130.

ชูตระกูล ไชยเสนา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับวัฒนธรรมองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 11(1), 46–59.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). “ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ” แบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 11(2), 23–35.

ธิดารัตน์ เอี่ยมเซี่ยม. (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 14(1), 102–110.

นิลุพัฒน์ จิตรสง่าวงศ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

สุภาวดี บุตตะวงค์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2565). รายงานผลดำเนินงานรอบ 6 เดือน (ต.ค. 65–มี.ค. 66) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เลย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.

สุทิน สุขกาย. (2562). การศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2559). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 31–49.

อนุวัตร ศรีพระนาม. (2560). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 256–264.

อมรา ไชยดำ. (2559). ประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 209–224.

อรอุมา ใกล้ฝน. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 20(89), 79–91.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Measurement, 30(3), 607–610.

Ulrich, D. (1996). The leader of the future: New visions, strategies, and practices for the next era. San Francisco: Jossey–Bass.

Manz, C. C., & Sims, H. P. (2001). The New Superleadership Leading others to Lead Themselves. San Francisco: Berrett–Koehler.

Mott, P. E. (1966). The Characteristic of effective organization. New York: Mcmillan.

House, R. J., & Mitchell, T. R. (1974). Path–goal theory of leadership. Journal of Contemporary Business, 9, 81–97.