ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (2) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา (4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 31 คน และครู จำนวน 302 คน รวมทั้งสิ้น 333 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 15 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .53–.86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 (2) แบบสอบถามการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .59–.87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t–test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4. ตัวแปรทักษะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ร่วมส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ (X4) ด้านการบริหารจัดการ (X6) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (X2) และด้านการทำงานเป็นทีม (X5) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 81 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Y' = .25 + .27X4 +.27X6 + .21X2 + .18X5
Zy' = .32Z4 + .28Z6 + .23Z2 + .22Z5
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 สําหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ศษ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
กุลจิรา รักษนคร. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 328-344.
ไชยา ภาวะบุตร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ฉบับปรับปรุง 2560. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, 28 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
นิรุตติ์ วงคำชัย. (2563). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMTE) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ปรีชา คัมภีปกรณ์ และคณะ. (2556). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ภูษิต ปุลันรัมย์ และคณะ. (2561). การบริหารเวลา การบริหารชีวิต ตามวิถีพุทธในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 295–304.
ภาณุมาศ เฉลยนาค. (2556). การนำเสนอกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บึงกาฬ: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาขาราชการครูเพื่อเขาสู่ตำแหน่งสายงานผู้บริหารในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
หวน พินธุพันธ์. (2565). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. นนทบุรี: พินธุ/พินธุพันธ์ ทำอีบุ๊ก.
อติกาญจน์ ศรีสังข์. (2564). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อำนวย ทองโปร่ง. (2553). การบริหารทรัพยากรและการจัดการทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
Bender, P.S. (1983). Resource management, an alternative view of the management process. New York: John Wiley and Sons.
NASSP. (2013). Breaking Ranks: 10 Skills for Successful School Leaders. Retrieved from https://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskills_ExSum.pdf. April 20th, 2023.