การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

บูรนาถ เฉยฉิน
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย
นภาเดช บุญเชิดชู
นภาภรณ์ ยอดสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ 2) รับรองกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 127 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามจังหวัด ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครู จำนวน 381 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.60–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับระหว่าง 0.50–0.95 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม โดยการใช้ตัวแบบ 2S4M ตัวแบบ PEST และการวิเคราะห์ TOWS Matrix และระยะที่ 2 การรับรองกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า   


1. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ปรับระบบการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพทางสังคม วัฒนธรรม และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 2) พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน 3) ปรับระบบงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะให้มีประสิทธิภาพ 4) ยกระดับคุณภาพการนิเทศการศึกษาตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ 5) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาผสานให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน และ 6) พัฒนาระบบการวัดประเมินผลตามหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างรอบด้าน


2. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ได้รับฉันทามติให้มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน.วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2562). พัฒนาการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน: จากอดีตสู่ยุคเปลี่ยนผ่านสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency). ใน รายการผลงาน สื่อ สิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiedreform.org/wpcontent/uploads/2019/08/Core_competency09.pdf/. 15 มีนาคม 2566.

ตรีสุคนธ์ คูนาเอก. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2562). 10 สมรรถนะหลัก ปั้นเด็กไทยฉลาดรู้ อยู่ดีมีสุข มีความสามารถสูงและใส่ใจสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ธัชพงศ์ ชอุ่ม. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับสถานศึกษาเอกชนในบริบทสากล. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

บุญเลิศ เย็นคงคา. (2554). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: วีเจพริ้นติ้ง.

พรรณนิภา ปินตาติ๊บ. (2563). ปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา, 121(79ก).

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

ลักษณ์ประภา สุวรรณสมบัติ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสถานศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศศิกานต์ เจริญดี. (2544). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพ้อยท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). เอกสารการประชุมวิชาการพัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาการนิเทศเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรนุช มั่งมีสุขศิริ. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะและทักษะของนักประดิษฐ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Certo, S. C. (1988). Instructor's manual for strategic management: concepts and applications. Theoretical support material (Vol. 1): Random House Business Division.

David, F., & David, F. R. (2016). Strategic management: A competitive advantage approach. concepts and cases: Pearson–Prentice Hall.

Higgins, J. M., & Vincze, J. W. (1993). Strategic management: Text and cases. Harcourt School: Dryden Press.

Levine, E., Patrick, S. (2019). What Is Competency-Based Education? An Updated Definition. Aurora Institute.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Smith, E. W., Krouse, S. W., & Atkinson, M. M. (1961). The educator's encyclopedia: New Jersey: Prentice-Hall.

Thompson Jr, A. A., & Strickland III, A. J. (2003). Strategic management: Concepts and cases. UK: Mcgraw-Hill College.