รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหาร
การประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ การวิจัยแบ่งออก 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 311 คน โดยการกำหนดขนาดของตาราง Krejcie & Morgan และการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ การบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่มเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินรูปแบบ การบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่มากที่สุด และมีความต้องการจำเป็น ด้านการรับฟังความคิดเห็น เป็นลำดับที่ 1 ผลการสร้างรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ มี 6 องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) วิธี การดำเนินการ มี 6 ด้าน คือ ด้านการศึกษาข้อมูล ด้านการรับฟังความคิดเห็น ด้านการวางแผนประชาสัมพันธ์โรงเรียน ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ด้านการดำเนินการประชาสัมพันธ์ และด้านการติดตามประเมินผล 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 6) วิธีการประเมิน ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุคปกติใหม่ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. (2550). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). ปฏิรูปการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกรียงไกร สุพรรณ. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
จารุวรรณ อรุณฤกษ์. (2552). การประชาสัมพันธ์. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฏเพชรบุรี.
จินดา ศรีญาณลักษณ์. (2561). วิเคราะห์องค์ประกอบของปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิรายุ คุณสืบพงษ์พันธ์. (2563). รูปแบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนเอกชนในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
จุฑามาศ กิจเจริญ. (2559). สื่อสารโฆษณา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราอาจารย์นิมิตร จิวะสันติการ.
ทาลินี แตรรูปวิไล. (2560). รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธนบุรี.
พรทิพย์ วรกิจโภคาทร และคณะ. (2554). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศลักษณ์ บุณยรักษ์. (2565). รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สมาน อัศวภูมิ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2(7), 83–84.
สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. เข้าถึงได้จาก https://dsp.dip.go.th/th/category/2017–11–27–08–04–02/2020–06–29–14–39–49. 25 กรกฎาคม 2563.
สุวิทย์ หอมสมบัติ (2565). การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ โวหารา. (2553). ความต้องการพัฒนางานประชาสัมพันธ์โรงเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุดรธานี. มหาสารคาม: งานวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Likert, R. (1967). The human organization: its management and values. New York: McGraw–Hill.