การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการถ่ายโอนความร้อน โดยจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับอินโฟกราฟฟิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายโอนความร้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับอินโฟกราฟฟิกให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการจัดการเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสว่างแดนดิน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับอินโฟกราฟฟิก แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า–ที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test for dependent samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายโอนความร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับอินโฟกราฟฟิก มีประสิทธิภาพ 82.02/82.46 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนที่สร้างขึ้น ซึ่งมีคะแนนก่อนเรียน ร้อยละ 45.25 และหลังเรียนมีคะแนนร้อยละ 81.75 เมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยแผนที่สร้างขึ้น ซึ่งมีคะแนนก่อนเรียนร้อยละ 45.08 และหลังเรียนมีคะแนนร้อยละ 83.17 สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนที่สร้างขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.79)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธีระขัย เอี่ยมผ่อง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปุญญพัฒน์ โคตรบุตร ต้นสกุล ศานติบูรณ์ และสมาน เอกพิมพ์. (2560). การบูรณาการแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ (STEM) ในการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1. 2-3 มีนาคม 2560. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1306-1311.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2557). คู่มือการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ฉบับอนาคต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุริยันต์ คุณารักษ์. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(27), 34–35.
อาทิตยา พูนเรือง. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมี
ที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(ฉบับพิเศษ), 371–378.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Education Objective, Handbook 1: Cognitive Domain. New York: David Mckay.
Chaumklang, S., Pilanthananond, N., & Srisa–ard. (2019). Development of Appropriate management Modelfor STEM Education in Thailand. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 8(1), 1–12.
Newson, D. & Haynes, J. (2004). Public Relations Writing: Form and Style. California: Wadsworth Publishing.
Polman, J.L. & Gebre, E.H. (2015). Towards critical appraisal of infographics as scientific inscriptions. Journal of Research in Science Education, 52(6), 868–893.
Smiciklas M. (2014). Infographics and the Science of Visual Communication. Retrieved from http://www.socialmediaexplorer.com/digital-marketing/infographics-and-the science-of-visual-communication/. March 27th, 2021.