การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 317 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพปัจจุบันมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.51–0.91 ค่าความเชื่อมั่น 0.99 และด้านสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32–0.74 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบสอบถามแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ร่วม 2) การตัดสินใจร่วม 3) ความไว้วางใจ 4) ความผูกพันต่อองค์การ และ 5) การสร้างสัมพันธภาพ โดยมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โมเดลการวัดภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (𝑥2 = 4.51, df = 3, p–value = 0.21, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMR = 0.00, RMSEA = 0.04) น้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.87–0.98 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ความไว้วางใจ รองลงมา ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพ ความผูกพันต่อองค์การ การตัดสินใจร่วม และวิสัยทัศน์ร่วม ตามลำดับ
2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ด้านที่สูงกว่าภาพรวมสูงสุด ได้แก่ ด้านการตัดสินใจร่วม (PNImodified = 0.231) รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างสัมพันธภาพ (PNImodified = 0.212) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม (PNImodified = 0.195) ด้านความไว้วางใจ (PNImodified = 0.182) และ ด้านความผูกพันต่อองค์การ (PNImodified = 0.153) ตามลำดับ
4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน มี 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการตัดสินใจร่วม ได้แก่ สารสนเทศ และเป้าประสงค์ 2) ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการเข้าใจผู้อื่น และ 3) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กนกวรรณ สุ่มพวง. (2558). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จินตนา เบญจมาศ. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชาลินี โชติจรุง. (2556). การวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้หญิงไทยกับผู้ชายต่างชาติบนเว็บไซต์บริการจัดหาคู่. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธันยพร บุษปฤกษ์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นพรัตน์ ทัดรอง. (2563). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 329–346.
บุญไช จันทร์ศรีนา. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของภาครัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 17(1), 213–233.
ประภาพร สำเรียงจิตต์. (2558). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระราชบัญญัติการศึกษา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 (1 พฤษภาคม 2562) ราชกิจจานุเบกษา, 136(57ก), 49–52.
ภูเบศว์ บาลชน. (2563). โมเดลภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของ โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น: โมเดลแข่งขันภาวะผู้นําการเรียนรู้และภาวะผู้นําแบบร่วมพลัง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สมัต อาบสุวรรณ. (2556). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2565). ผลการดำเนินงานการบริหารงานบุคคลประจำปีงบประมาณ 2565. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.
อภิสรา โชติภาภรณ์. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถะด้านการเรียนในยุคประชาคมอาเซียนของผู้เรียนโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Archer, D. & Cameron, A. (2013). Collaborative Leadership: Building Relationships, Handling Conflict and Sharing Control. New York: Routledge Chapman & Hall.
JÄPPINEN, A.K. (2014). Collaborative Educational Leadership: The Emergence of Human Interactional Sense–Making Process as a Complex System. Jyväskylä: University of Jyväskylä (Finland).
JEFFERS, M.P. (2013). Exploring Collaborative Culture and Leadership in Large High Schools. Missouri: The University of Missouri–Columbia.
JGC (2020). Whole Child Education & Collaborative Leadership: Community School Lessons from REACH Academy. Oakland: Reach Academy.
Telford, H. (1996). Transforming Schools Through Collaborative Leadership. London: Falmer Press.
Townsend, T. & MacBeath, J. (2011). International Handbook of Leadership for Learning. New York: Springer.