การศึกษาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวม หมื่นช้างโมเดล อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1

Main Article Content

ธมนวรรณ ธานีวรรณ
ธีระ ภูดี
ปาริชา มารี เคน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวมหมื่นช้างโมเดล 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวมหมื่นช้างโมเดล 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวมหมื่นช้างโมเดล กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ ผู้วิจัย 1 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครู 5 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน ผู้ปกครองนักเรียน 4 คน และนักเรียน 2 คน รวมจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสรุปศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบรายงานการประชุม แบบสรุปผลปัญหาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเรียนรวมหมื่นช้างโมเดล แบบบันทึกความคิดเห็นของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล แบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติตามแผนการพัฒนา และแบบสะท้อนผลปฏิบัติงาน (AAR) ที่ได้รับคำแนะนำปรับปรุงตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของเนื้อหาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ระยะเวลาการวิจัยตลอดปีการศึกษา 2563 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาแล้วนำเสนอเป็นความเรียง


ผลการวิจัย พบว่า


1. ปัญหาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวมหมื่นช้างโมเดล พบว่า ปัญหาครูและการจัดการเรียนรู้ ครูไม่เพียงพอ ไม่ครบชั้นเรียน ครูสอนไม่ตรงตามวิชาเอกที่จบ ครูขาดการใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม ปัญหานักเรียน พื้นฐานครอบครัวต่างกัน การจ้างรถรับ-ส่งนักเรียน และขาดโอกาสการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ปัญหาการบริหารจัดการการประชุมร่วมกันน้อย ขาดการประสานงานที่ดี ชุมชนมีรายได้น้อย งบประมาณและบุคลากรไม่เพียงพอ ปัญหาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม การดูแลความสะอาดอาคารสถานที่ไม่ทั่วถึง ขาดการเอาใจใส่ดูแลให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน น่าทำงาน ห้องเรียนแสงสว่างไม่เพียงพอ และปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณน้อย นักเรียนอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุการติดต่อสื่อสารล่าช้า ประชาสัมพันธ์ข่าวสารจากโรงเรียนน้อย และขาดการเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานด้านการเรียน


2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวม หมื่นช้างโมเดล จากการระดมความคิดในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา พบว่า ด้านครูและการจัดการเรียนรู้ จัดหาครูให้ครบชั้น จัดหาครูผู้สอนที่จบตรงตามวิชาเอกที่ต้องการ ส่งครูเข้ารับการอบรมวิชาการที่ไม่ถนัด ส่งเสริมการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ด้านนักเรียน ไม่ขาดเรียน เข้าเรียนต่อเนื่อง จัดสรรเวลาในการร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสม ศึกษาหาความรู้ทางสื่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม ใช้สื่ออุปกรณ์ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียน เรียนซ่อมเสริมวิชาที่เรียนไม่ทันหรือตามที่ครูจัดสอน ผู้ปกครองควรเอาใจใส่การเรียนของนักเรียน ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดประชุมทุกเดือน ระดมทุนจากแหล่งทุนและทรัพยากร นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการศึกษา การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลให้เป็นระบบเดียวกันให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน ด้านอาคารสถานที่ ปรับปรุงอาคารที่ชำรุด ติดตั้งไฟฟ้าในห้องเรียนให้เพียงพอ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุน งบประมาณ จัดผ้าป่าการศึกษา แจ้งข่าวสารให้ทันต่อเหตุการณ์ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียนสม่ำเสมอและผู้ปกครองเอาใจใส่การเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น


3. ผลการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวม หมื่นช้างโมเดล พบว่า ด้านครูและการจัดการเรียนรู้ มีครูครบชั้นและมีครูผู้สอนที่จบตรงตามวิชาเอก ครูเข้ารับการอบรมวิชาการที่ไม่ถนัด สามารถใช้สื่อการสอนที่หลากหลายพัฒนาการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านนักเรียน นักเรียนสนใจการเรียน ได้ปรับพื้นฐานด้วยการเรียนเสริมวิชาที่ไม่เข้าใจ ผู้ปกครองเอาใจใส่การเรียนของนักเรียน ด้านการบริหารจัดการ ระดมทุนเพื่อการบริหารงบประมาณ บุคลากร วิชาการ และบริหารทั่วไป มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลให้เป็นระบบเดียวกันให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน ด้านอาคารสถานที่ ห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ มีผู้รับผิดชอบดูแลเขตพื้นที่บริเวณโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ คณะกรรมสถานศึกษามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียน ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน และผู้ปกครองมีความพอใจการจัดการศึกษาของโรงเรียนเรียนรวมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุไรรัตน์ กรงาม. (2556). ปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. อุบลราชธานี: วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทินกร แก้วกัญญา. (2556). สภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562. กาฬสินธุ์: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

________. (2557). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2558-2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

________. (2563). การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/smallinformation.html. 20 กุมภาพันธ์ 2563.

อัญชลี พิมสาร. (2556). การบริหารรูปแบบเรียนรวมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.