ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหาร 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารและคุณภาพผู้เรียน และ 4) เพื่อศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 88 คน ครูผู้สอน จำนวน 272 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตาราง Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัจจัยทางการบริหาร โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22-0.84 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ 2) แบบสอบถามผู้เรียน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.85 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
2. คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
4. ปัจจัยทางการบริหารที่สามารถพยากรณ์คุณภาพผู้เรียนได้ คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย (X3) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X5) ด้านภาวะผู้นำ (X1) ด้านการจูงใจ (X4) และด้านการพัฒนาบุคลากร (X2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 99.70
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้
Y’ = .031+.224X3+.214X4+.194X2+.188X5+.187X1
และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
Z’y = .267X4+.258X5+.248X1+.231X3+.202X2
5. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน มีจำนวน 5 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมาย ด้านการจูงใจ และด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กุลฑรี พิกุลแกม. (2551). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กุลนรี ถนอมสุข. (2552). การวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูที่มีต่อคุณภาพนักเรียน. วารสารวิจัย มข., 9(4), 123-134.
โกวิท ประวาพฤกษ์. (2546). การเรียนรู้มาตรฐานคุณภาพและการประเมินแท้. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2553). โมเดลเชิงสาเหตุของการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิต ที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียน. วารสารวิจัย มข., 10(1), 107-118.
ฉวีวรรณ จันทร์เม่ง. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อมาตรฐาน ด้านผู้เรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตรชัย กิตติรุ่งสุวรรณ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.
ชัญญา อภิปานกุล. (2554). หลักและระบบการบริหาร. เอกสารคำสอน. ขอนแก่น: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ซูไฮลา จิตรบรรทัด. (2550). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฐิติวรรณ ลีฬหวนิช. (2550). การศึกษาภาวะผู้นำกับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2557). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดรุณี เทพา. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ถนัด เดชทรัพย์. (2554). การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตามหลักธรรมาธิบาล. ภาคนิพนธ์ รป.ม. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธนายุทธ ช่อมะลิ. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
บัญชา ศิริเรืองชัย. (2551). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนเขตตรวจราชการที่ 6. วิทยานิพนธ์. ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 91-102.
พิกุล ไชยแสน. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลการบริหารงานของ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
แพว เฉลิมญาติ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผล การปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิรน์เอเชีย.
แพวิพา ภูสงัด. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานระบบดูและช่วยเหลือนักเรียน กับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ภัคพร บุญเคล้า. (2555). ยุทธวิธีการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ในเขตตรวจราชการที่ 13. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มานะ สินธุวงษานนท์. (2550). ปัจจัยส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพ นักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(2), 115-127.
มาโนช จุลสุคนธ์. (2552). ความต้องการของผู้ปกครองด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนภัทรดล อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2553). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์มและไซแท๊กซ์.
ฤทธิศักดิ์ สุวรรณไตรย์. (2559). ปัจจัยภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วุฒิพร ประทุมพงษ์. (2556). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). การบริหารโรงเรียน อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาน อัศวภูมิ. (2552). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). อุบลราชธานี: อุบลออฟเซทการพิมพ์.
สิทธิพล พหลทัพ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. รายงานการศึกษาอิสระ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุชีรา จันทพรม. (2553). อิทธิพลภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพ วาทหงษ์. (2553). การจัดองค์ประกอบที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุรพล พิมพ์สอน. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
______. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
______. (2554). การวางแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1, งานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มนโยบายและแผน. (2554). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2554. สกลนคร: นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558): ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท พลัส.
สมศักดิ์ วิไลแก้ว. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิยาลัยขอนแก่น.
อมรรัตน์ เชิงหอม. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อ คุณภาพนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อัชราภรณ์ มาตรา. (2555). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอื้อมพร อ่อมน้อม. (2554). การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชครินทร์.
Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (2008). Educational Administration Theory Research Practice. (7th ed). New York: McGraw-Hill.
Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
Steers, R.M. (1991). Organizational Effectiveness: A Behavior View. Santa Monica, California: Goodyear.