READINESS OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE LOCAL AUTHORITY ORGANIZATION TO OPERATE IN ONLINE FORMAT: A CASE STUDY OF SAKON NAKHON MUNICIPALITY
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพร้อมของสถานศึกษาในการดำเนินงานในรูปแบบออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินงานในรูปแบบออนไลน์ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความพร้อมของสถานศึกษาในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การดำเนินงานรูปแบบออนไลน์โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูผู้สอนและบุคลากรในสถานศึกษาในเขตเทศบาลนครสกลนคร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร จากสถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ (Frequencies) และร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพร้อมของสถานศึกษาในการดำเนินงานในรูปแบบออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.620 2) ความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินงานในรูปแบบออนไลน์ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ ได้แก่ ด้านวิชาการ ส่วนใหญ่มีความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสารต่ำ และด้านงบประมาณ ส่วนใหญ่ขาดแคลนอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยี และ 3) แนวทางในการพัฒนาความพร้อมของสถานศึกษาในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การดำเนินงานรูปแบบออนไลน์ ได้แก่ การจัดอบรมการปฏิบัติงานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กนกวรรณ ช่างหลอม. (2559). ปัญหาและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(2), 66-78.
กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคินและคณะ. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2564. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2563). คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. อุบลราชธานี: กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยา บัวหอม. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของบุคลากร โรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา. ศรีสะเกษ: สำนักการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.
พิมิล โชติธนอธิวัฒน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม. วิทนานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วานิช อินคงงาม. (2561). ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. หนองคาย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โสภาพรรณ สุริยะมณี. (2561). การวิเคราะห์ความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน: กรณีศึกษาหน่วยงานเลขานุการผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.