การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก และ 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุ 5 ปี ที่กำลังเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนในเครือข่ายท่าศาลา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 1 ห้องเรียน เด็ก 22 คน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก 8 แผน จำนวน 20 ชั่วโมง แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์การต่อเติมภาพ TCT DP (The Test for Creative Thinking Drawing Production) จำนวน 1 ชุด แบบประเมินผลงาน และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็ก พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ที่สูงขึ้น 2. คะแนนความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มร่วมกับนิทานสำหรับเด็กสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2553). สอนให้เป็นอัจฉริยะตามแนวนีโอฮิวแมนนิส. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ชลาธิป สมาหิโต. (2557). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย. เมื่อวันที่ 18 มกราคม และ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ สมาคมอนุบาลแห่งประเทศไทย.
_______. (2560). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ผ่านการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 177-184.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2558). การคิดสร้างสรรค์ในศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย และชลาธิป สมาหิโต. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง อาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ, 26(2), 104-110.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2556). แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ STEM. เอกสารประกอบการสอนสาขาวิชาประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา ก้อนทอง. (2547). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะประกอบเสียงดนตรีคลาสสิกที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสาวภากุล จันทร์ทิพย์. (2556). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะ การปั้นดินนํ้ามันแบบธรรมชาติเน้นการใช้คําถามที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และพฤติกรรมกลุ่ม ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อมรรัตน์ จำปาวัตตะ ถาดทอง ปานศุภวัชร และนิติธาร ชูทรัพย์. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุและวัตถุ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(31), 59-70.
Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw–Hill.
Jellen, H. and Urban, K.K. (1986). The TCT-DP (Test for Creative Thinking - Drawing Production): An instrument that can be applied to most age and ability groups. Creative Child and Adult Quarterly, 11, 138-155.