บทความวิจัย การพัฒนาแบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

Main Article Content

รุ่งฤดี นาสมใจ
พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์
พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย 2) หาคุณภาพแบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย 3) สร้างเกณฑ์ปกติ และคู่มือการใช้แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย 4) ประเมินคุณภาพคู่มือการใช้แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) 2) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์มี 3 ตัวเลือก 2) แบบประเมินคุณภาพคู่มือการใช้แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                                          ผลการวิจัย พบว่า                                                                                                                                                                           1. แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด 4 ด้าน 20 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านที่ 1 ความซื่อสัตย์สุจริต ด้านที่ 2 ความเมตตากรุณามีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน ด้านที่ 3 ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้านที่ 4 ความรับผิดชอบ                                                                                                                                                                                        2. แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงามมี 20 ข้อ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.65-0.85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96                                                                                                                                                                                            3. ผลการสร้างเกณฑ์ปกติ มีคะแนนทีปกติ ตั้งแต่ T26 –T48 และคู่มือการใช้แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงามสำหรับเด็กปฐมวัย มี 4 ด้าน                                                                                                                                                           4. ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการใช้แบบวัดการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม สำหรับเด็กปฐมวัยโดยครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.38, gif.latex?S.D.= 0.20) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ (gif.latex?\bar{x}= 4.50, gif.latex?S.D.= 0.28) ด้านความเป็นไปได้ (gif.latex?\bar{x}= 4.41, gif.latex?S.D.= 0.40) ด้านความถูกต้อง (gif.latex?\bar{x}=4.32, gif.latex?S.D.= 0.40) และด้านความเหมาะสม (gif.latex?\bar{x}= 4.29, gif.latex?S.D.= 0.34)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบสบุ๊คส์.

ขนิษฐา สาลีผล. (2537). การเปรียบเทียบคุณภาพแบบทดสอบวัดจริยธรรมด้านความอดทนระหว่างสถานการณ์ที่เป็นภาษากับสถานการณ์ที่เป็นภาพการ์ตูน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

ณัฐิกา ขวกเขียว (2550). การพัฒนารูปแบบการประเมินด้านจิตพิสัยเกี่ยวกับนิสัยรักการอ่าน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

นวลละออง หงษ์ภู. (2552). การพัฒนาแบบวัดคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิพย์ ไชยโส. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษาขั้นสูง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มีสท์.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2538). การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

สินีนิตย์ จันทรสมัย (2549). การพัฒนาเครื่องมือประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนมาตรฐานที่ 2 ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Finn, C.E. (1997). A meta - evaluation. International Journal of Education Research, 27(2), 159–174.