ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร

Main Article Content

อธิการ แสนสุวรรณศรี
ละมัย ร่มเย็น
สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะการปฏิบัติงานของโครงการชลประทานสกลนคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และสมรรถนะการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโครงการชลประทานสกลนคร จำนวน 268 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ                                                                                                                                                                                     ผลการวิจัย พบว่า                                                                                                                                                                            1. ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.51)                              2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโครงการชลประทานสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.50) และสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโครงการชลประทานสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.61)                                        3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโครงการชลประทานสกลนคร ด้านความสำเร็จในงาน (MOT2) ด้านความรับผิดชอบ (MOT4) ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน (MOT3) ด้านการเจริญเติบโต (MOT5) และด้านการยอมรับนับถือ (MOT6) มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = 0.175 โดยสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร ได้ร้อยละ 17.50                                                                                                                                                                                                        4. สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโครงการชลประทานสกลนคร ด้านสมรรถนะตามตำแหน่งงาน (PER3) สมรรถนะหลัก (PER1) และสมรรถนะในด้านการจัดการ (PER2) มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = 0.108 โดยสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร ได้ร้อยละ 10.80

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์ และนิคม เจียรจินดา. (2561). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานกับคุณภาพ การให้บริการขององค์การ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โครงการชลประทานสกลนคร. (2562). บรรยายสรุปโครงการชลประทานสกลนคร ประจำปี 2562. สกลนคร: โครงการชลประทานสกลนคร.

นิภาพร เฉียนเลี่ยน. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมภาค 8. วิทยานิพนธ์ รป.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิภาวรรณ รอดโรคา และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนกลาง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 48-60.

ปวีณรัตน์ สิงหภิวัฒน์. (2557). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเนชัน.

วิไล ชัยสมภาร. (2557). ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ รป.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมบูรณ์ เหล่าทอง. (2551). การศึกษาขีดความสามารถและความคาดหวังจากประชาชน ของนักการเมืององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สมัย จุ่นเจริญ, จ.ส.อ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของงานของข้าราชการสังกัดกองร้อยทหารสารวัตร มณฑลทหารบกที่ 14. งานนิพนธ์ รป.ม. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุทธิคุณ วิริยะกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ รป.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุนทร แทบทับ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ รป.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรีย์พร น้อยมณี. (2558). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แสงทอง แป้นประโคน. (2558). สมรรถนะการปฏิบัติงานของนายช่างโยธาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2555). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

Cumming, L. L., & Schwab, D. P. (1973). Performance in organization: Determinants & appraisal. Glenview, IL: Scott Foresman and Company.

Gibson and others. (1973). Organizational: Behavior, Structure, Process; Behavior, Dallas. Taxas: Business Publication, Inc.

Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

McClelland, D. C. (1998). Identifying competencies with behavioral-event interviews. Psychological Science, 9(5), 331-339.

Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (1991). Managing organizational behavior (4th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Steers, R. M. (1977). Organizational effectiveness: A behavior view. Santa Monica, CA: Goodyear.