การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูปฐมวัยในการออกแบบกิจกรรม การเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ธีรภรณ์ ภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูปฐมวัยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความสามารถของครูปฐมวัยก่อนและหลังการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนกลุ่มห้วยเกิ้งปะโค และโรงเรียนกลุ่มเมืองกุมภวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และ 2) ครูผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านปะโค โรงเรียนบ้านบุ่งหมากลาน โรงเรียนบ้านห้วยกองสี โรงเรียนบ้านดงน้อย โรงเรียนอนุบาลกุมภวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 15 คน ได้โดยครูผู้สอนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูปฐมวัยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติใช้สถิตินอนพาราเมตริก: วิลคอกซัน (Non Parametric Statistics : The Wilcoxon Matches Pairs Signed-Rank Test)


ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของ เด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}= 2.35) ส่วนความต้องการการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก  2. ชุดฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูปฐมวัยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 มีประสิทธิภาพ ได้เท่ากับ 79.00/81.33 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 3. ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความสามารถของครูปฐมวัยก่อนและหลังการอบรม พบว่า ครูปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนหลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ลูกเอยลูกศิษย์ คู่มือครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

ชนาธิป พรกุล. (2552). การออกแบบการสอน : การบูรณาการการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.

ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2555). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ภัทรดรา พันธุ์สีดา. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2556). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2553). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2516). ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์สำหรับสอนในระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วัฒนา มัคคสมัน. (2550). การสอนโครงการ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991) จํากัด.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุธีรา สุริยวงศ์. (2555). การบริหารและการจัดการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2560). นโยบายปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2554). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนการสืบค้นเป็นกลุ่มในรายวิชา การพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อรุณศรี จันทร์ทรง. (2553). คู่มือครูปฐมวัยยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.

Morrison, G. S. (1995). Early childhood education today. (6th ed). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Robertson, C. (2003). Safety nutrition and health in early education. 2ed Canada: Delmar Learning.

Smith, Patricia L., & Ragan, Tillman J. (2005). Instructional Design. John Wiley & Sons, Inc.