การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องสมุนไพรจากพืชใบเลี้ยงคู่ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

นฐพร ลัยรัตน์
ธนะวัฒน์ วรรณประภา
นคร ละลอกน้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องสมุนไพรจากพืชใบเลี้ยงคู่ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องสมุนไพรจากพืชใบเลี้ยงคู่ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่องสมุนไพรจากพืชใบเลี้ยงคู่ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เภสัชพฤกษศาสตร์และพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์ 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์
3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t - test แบบ Dependent Samples


            ผลการศึกษา พบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ เรื่องสมุนไพรจากพืชใบเลี้ยงคู่ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ เท่ากับ 81.00/88.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผู้เรียนมีผลคะแนนทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 4.35 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40 โดยแปลผลอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นฐพร ลัยรัตน์, 0867009846

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญชนก บัวทรัพย์. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการใช้โปรแกรมการพิมพ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนหา (สมัครพลผดุง). การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร,

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2554). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีสยาม.

ธนกฤต ยาขันทิพย์. (2556). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การทำความเย็นและปรับอากาศ. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,

ธนัชพร นุตมากุล. (2560). รายวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์และพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน/Interviewer: นฐพร ลัยรัตน์.

บุญส่ง ประจิตร. (2551). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพรายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระหว่างการใช้บทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์กับการเรียนแบบปกติ. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

พัชรินทร์ แสนวิเศษ. (2554). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,

ฟาริดา วรพันธ์. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบฝึกปฏิบัติ เรื่อง การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแบบเวกเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี การศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. การค้นคว้าอิสระศึกษา ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มานพ พันธ์โคกกรวด. (2559). เนื้อหาการเรียนรู้แบบดิจิตอลรูปแบบใหม่ของการศึกษาในอนาคต. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1). ม.ปป.

วัฒน์ พลอยศรี. (2551). การสร้างบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่องเทคโนโลยีก่อนพิมพ์. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วิสุทธิพงษ์ ยอดเสาดี. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2559). วิธีการทางสถิติสำหรับกสนวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิริธร บุญประเสริฐ. (2557). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์พกพา ร่วมกับ กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และจักร์กฤษ เพิ่มพูน. (2557). หลักและแนวคิดวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ (Principles of convergence journalism). กรุงเทพฯ: สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.

อุดมลักษ์ อนันต์. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เอ็ดดูเทนเมนต์โดยใช้แอนิเมชั่นเรื่อง การวัดและประเมินผลการศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.