ผลของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุนิจฐา พองพรหม
ทวี สระน้ำคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์วิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย .44 - .68 ค่าอำนาจจำแนก .20 - .56 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .52 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 4 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งการทดลองที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


            ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/81.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติยา ปลอดแก้ว. (2551). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่องการสร้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส มีเดีย.

เขมิกา สาสุนันท์. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดุลยวิทย์ ภูมิมา. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นิษฐานันท์ ไทยเจริญศรี. (2553). ผลของการใช้เทคนิคระดมสมองตามแนวคิดของออสบอร์นที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 56 - 65.

ปนัดดา สุกเอี่ยม. (2555). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เรื่อง พลเมืองดีของสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประกายพรึก จักรพันธุ์, ม.ล. (2552). การออกแบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อการจำอักษรคันจิ. การค้นคว้าแบบอิสระ ศศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริชาติ พองพรหม. (2554). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง “อาณาจักรสุโขทัย” ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิลาศลักษณ์ อาคมศิลป์. (2556). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบแอลทีรายวิชา คณิตศาสตร์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นันทิวัน พันดุง. (2554). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง จักรวาลและอวกาศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารราชพฤกษ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 8(3), 94 - 99.

วินัย ปานเนาว์. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรประวัติ ทองขอน. (2557). ผลของบทเรียนบนเครือข่ายที่อาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่องประชาคมอาเซียนที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาอิสระ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภลักษณ์ ปริสุทธิโกศล. (2557). ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิจารณญาณ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีการนำตนเองในการเรียนรู้ต่างกัน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(2), 191 - 200.

อรทัย โพธิเวชกุล. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังน้อย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรษา จันทร์สว่าง. (2550). การจัดกิจกรรมการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สังข์ทอง โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค Learning Together (LT). การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.