การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ศิรินันทน์ ว่องโชติกุล

Abstract

การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานระดับประถมศึกษา

 

THE DEVELOPMENT OF MATHEMATICS TEACHING MODEL ON THE BRAIN-BASED LEARNING FOR ELEMENTARY STUDENTS

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานในระดับประถมศึกษา และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานในระดับประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบทของรูปแบบการสอนฯ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนฯ และ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนฯ โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขว้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 17 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับประถมศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1.   ได้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับประถมศึกษา ที่มีความสอดคล้องและความเหมาะสมทั้ง 7 องค์ประกอบหลัก ซึ่งได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์3) เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน 4) ขั้นตอนที่ใช้สอน ประกอบด้วย ขั้นคลายสมอง (Loosen the Brain) ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ (Linking the Experiences) ขั้นเรียนรู้เนื้อหา (Learn the Content) ขั้นนำพาปฏิบัติ (Lead the Practice) และ ขั้นความรู้คงอยู่ (Lifelong the Knowledge) 5) ระบบสนับสนุน 6) การประเมินผล และ 7) ผลของการนำไปใช้ โดยรูปแบบการสอนมีความสอดคล้องและความเหมาะสมโดยรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.67, S.D. = .44)

                 2.  ผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับประถมศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับประถมศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ มีเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT

            The purposes of this study were to develop an instructional model of Mathematics teaching on the brain-based learning for elementary students; and to study the results of the developed instructional model. The study was divided into 3 phases: Phase 1 studying context of the teaching model, Phase 2 creating and developing the teaching model, and Phase 3 studying the results of the instructional model. By trialing to the 6th grade students in the Ban Khwao School: under office of the Buriram Primary Education Service Area 4. Purposive sampling was need to desire sample and they were divided 18 of them into an experimental group and 17 into control group in the semester 2/2012 academic year. The research instruments were: 1) handbook of using model 2) learning plan 3) Mathematics achievement test, and 4) attitude of subjects test. The statistics using data were analyzed by: average, standard deviation, and t-test statistics.

            The findings of this study were as follows:

                 1.   The developed instructional model of  Mathematics teaching on the brain-based learning were for elementary school student consistent and reasonable in all the 7 main components, namely: 1) principles and concepts 2) objectives 3) content used in teaching 4) phases of instruction including: Step 1 loosening the brain  Step 2 linking the experience  Step 3 learning the content Step 4 leading the practice ,and Step 5 sustaining lifelong the knowledge  5) support system 6) evaluation, and 7) the effect of adoption. The Model of Mathematic teaching on the brain-based learning had consistent and reasonable, including all elements in the highest level (\bar{x}= 4.67, S.D. = .44).

                 2.  The results of an instructional model of Mathematic teaching on the brain-based learning for elementary school student found that the students in the experimental group had average achievement scores and average scores higher than the students in control group at .05 level of significance.  


Article Details

Section
บทความวิจัย