บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา
Executive’s Role in Personnel Development to be Professional Teacher in Educational Reform
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาโดยตำแหน่ง และผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้รักษาราชการแทน ในภาคตะวันตกของประเทศไทย ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดราชบุรี ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie & Morgan. 1970 : 109) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยการเปรียบเทียบด้วยสถิติทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบเอฟ (F–test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติตน รองลงมา คือ
ด้านการปฏิบัติงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
3. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารงาน โดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร