การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ การบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ ของเมต้าคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิด เพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาครูคณิตศาสตร์ ภาควิชาสร้างครูวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณะศึกษาศาสตร์

Main Article Content

บุญชู ชัยสอน

Abstract

การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ ของเมต้าคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิด เพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาครูคณิตศาสตร์ ภาควิชาสร้างครูวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว 

THE DEVELOPMENT OF MATHEMATICS LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BY INTEGRATING METACOGNITION THEORY AND OPENED APPROACH TO ENHANCE MATHEMATICAL OUTCAMES OF BACHELOR DEGREE STUDENTS OF THE NATIONAL UNIVERSITY OF LAOS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของเมตาคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิดและ 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยใช้การบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของเมตาคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิด ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จากแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและครูผู้สอน ระยะที่ 2 พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในระยะที่ 1 มาสร้างเป็นยุทธศาสตร์แล้วตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยนำไปทดลองใช้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1  ระดับปริญญาตรี  สาขาครูคณิตศาสตร์  ภาควิชาสร้างครูวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2558  จำนวน  1 ห้องเรียน จำนวน  29  คน  ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง โดย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การ บูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ของเมตาคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิด 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  3) แบบวัดทักษะกระบวนการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One group pretest – posttest design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)  

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1. ผลการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้

ของเมตาคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิด ทำให้ได้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่มีหลักการตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของเมตาคอกนิชันและแนวคิดแบบเปิด ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1) จุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ 2) แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 3) หลักการของยุทธศาสตร์ 4) กระบวนการเรียนรู้ของยุทธศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นให้คิด ขั้นตรวจสอบเนื้อหาใหม่  ขั้นแก้ปัญหา และ ขั้นสรุปความรู้โดยการอ้างอิงและประเมินผล 5) การประเมินผลยุทธศาสตร์ ผลการประเมินยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

                2.  ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้  พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ค่าเฉลี่ยทักษะกระบวนการแก้ปัญหาการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 3) ค่าเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


Article Details

Section
บทความวิจัย