การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map)
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map)
The Development Creative Skills of Students with Writing Mind Map
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map) ก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1
ปีการศึกษา 2556 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ TCT-DP ของ Jellen และ Urban และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยการเขียนแผนที่ความคิด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้ ค่าเฉลี่ย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาโดยรวมและรายด้านหลังการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map) สูงกว่าก่อนพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนแผนที่ความคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map) ในภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยอันดับแรก คือด้านพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ รองลงมาด้านการนำไปใช้และด้านความรู้ด้านความรู้ความเข้าใจตามลําดับ
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร