การพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ทิพย์เกสร รอดสีเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1 โรงเรียนจรัสพิชากร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD จำนวน 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 และแบบทดสอบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (One-Sample Test) และ (Paired-Samples Test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 76 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD มีคะแนนเฉลี่ยต่างกันที่ 8.8 คิดเป็นร้อยละ 67.5 3) ดัชนีประสิทธิผลหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.6318 หรือคิดเป็นร้อยละ 63.8 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย