คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานองค์กรปกครองเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานองค์กรปกครองเมืองปากซัน จำนวน 264 คน ใช้วิธีการคำนวณสูตรของ R.V.Krejcie และ D.W.Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดแบบประมาณค่า ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า
t-test ชนิด Independent Samples f-test ชนิด One-Way ANOVA และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีทดสอบแบบ Least Significant Difference : LSD
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.62) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคม ( = 3.97) รองลงมาคือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร ( = 3.88) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ( = 3.20)
2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงาน ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน และระดับเงินเดือนโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงาน ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตาม ระดับชั้นตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The purpose of this study was to investigate quality of working life of officials in Paksanh District Administration Organization, Bolikhamxai province, Lao People’s Democratic Republic. A sample was 264 officials of Pakxanh District Administration Organization. The sample size was derived from calculation using Krejcie and Morgan’s formula. The instrument used in data collection was a rating scale questionnaire which had a reliability coefficient of .95. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for independent samples and one-way ANOVA. In case a significant difference was found between the means, the least significant difference method (LSD) was used to make a pairwise comparison.
Findings of the study showed as follows:
1. Quality of working life of officials in Pakxanh District Administration
Organization, Bolikhamxai province, Lao PDR as a whole was found at high level ( = 3.62). Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of ‘nature of work having relationship with the society ( = 3.97) followed bythe aspect of creating good relationship inside the organization ( = 3.88) The aspectthat’s gained the lowest mean score was of ‘remuneration being enough and fair’ ( = 3.20)
2. A comparison of quality of working life according to the personal background of sex, age as a whole and each aspect was found were not significantly different, According to the personal background of education, work experience and salary as a whole was found were not significantly different but each aspect were found significantly different at the .05 level.
3. Comparisons of the overall quality according to the personal background of rank/ position was different were found significantly different at the .05 level.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร