กระบวนการพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
Main Article Content
Abstract
กระบวนการพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
THE DEVELOPMENT PROCESS OF RESEARCH QUESTION FORMULATION SKILLS FOR STUDENTS AT KALASIN RAJABHAT UNIVERSITY
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จำนวน 250 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และจากสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกการตั้งโจทย์วิจัย จำนวน 5 ชุด และแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Training) ในการดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะการตั้งโจทย์วิจัย และพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัย จากนั้น ดำเนินการทดลองเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 ครั้ง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นำมาทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติ คือ ความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้
1. โดยภาพรวมนักศึกษามีแนวโน้มตั้งโจทย์วิจัยได้มากขึ้น กล่าวคือ ครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 15.60 ครั้งที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 34.00 ครั้งที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 78.40 ครั้งที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 91.60 และครั้งที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 97.60 ตามลำดับ
2. วิธีการที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษา ประกอบด้วย 12 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาโจทย์วิจัยทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วย โจทย์วิจัยทั่วไป โจทย์วิจัยเฉพาะ และโจทย์วิจัยหลัก 2) ทำชุดฝึกการตั้งโจทย์วิจัยครั้งที่ 1 3) รับผลการตรวจให้คะแนนและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ 4) ทำชุดฝึกการตั้งโจทย์วิจัยครั้งที่ 2 5) รับผลการตรวจให้คะแนนและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ 6) ศึกษาการตั้งโจทย์วิจัยเพิ่มเติมจากแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Training) 7) ทำชุดฝึกการตั้งโจทย์วิจัยครั้งที่ 3 8) รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนและอาจารย์ก่อนส่งตรวจให้คะแนน 9) ทำชุดฝึกการตั้งโจทย์วิจัยครั้งที่ 4 10) รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนและอาจารย์ก่อนส่งตรวจให้คะแนน 11) ทำชุดฝึกการตั้งโจทย์วิจัยครั้งที่ 5 และ 12) รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนและอาจารย์ก่อนส่งตรวจให้คะแนน
ABSTRACT
The objectives of this research were (1) to develop students’ research question formulation skills, and (2) to investigate an effective way to develop students’ research question formulation skills. Samples were 250 second-year students in the second semester of the academic year 2013 at Kalasin Rajabhat University. These samples were purposively selected from Mathematics and English programs of the Faculty of Education and Information Science program of the Faculty of Humanities and Social Science. Instruments used in this study comprised 5 practice kits for formulating research questions and an E-Training program. In research procedures, the researchers had studied documents related to research formulation skills and had developed the instruments for developing students’ research formulation skills. Then, the researchers provided students with treatment to collect data for five times. Finally, the collected data were analyzed with statistics: frequency and percentage.
The results of this research revealed the following:
1. Overall, most of the students tended to be able to formulate research questions—15.60% for the first time, 34% for the second time, 78.40 for the third time, 91.60% for the fourth time, and 97.60% for the fifth time.
2. The effective way and time used in developing students’ research question formulation skills consisted of 12 steps, including (1) study the three levels of research questions: general question, specific question, and key question, (2) do Practice Kit 1, (3) receive scores and suggestions from teachers, (4) do Practice Kit 2, (5) receive scores and suggestions from teachers, (6) study more about formulating research questions from an e-training program, (7) do Practice Kit 3, (8) receive comments from peers and teachers before submitting the final edition, (9) do Practice Kit 4, (10) receive comments from peers and teachers before submitting the final edition, (11) do Practice Kit 5, and (12) receive comments from peers and teachers before submitting the final edition.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร