การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

Main Article Content

ยุพิน อินธิแสง

Abstract

การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

EFFECTIVE KEY PERFORMANCE INDICATOR DEVELOPMENT OF SCHOOL UNDER NONGKHAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

บทคัดย่อ
  การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล โครงสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 การดำเนินการมีสามระยะ ประกอบด้วย ระยะแรก การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่สอง การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างประสิทธิผลของโรงเรียน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่สาม การสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จำนวน 420 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟา ของ Cronbach เท่ากับ 0.99
  ผลการวิจัย พบว่า
    1. ตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย 70 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น ความพึงพอใจในการทำงาน จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ความสามารถในการพัฒนานักเรียน จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ บรรยากาศของโรงเรียน 22 ตัวบ่งชี้ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 18 ตัวบ่งชี้
    2. โมเดลโครงสร้างประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 70.81 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 71 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.484 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 (Chi-square = 70.81 df = 71 ค่า P = 0.484 ค่า GFI = 0.98 ค่า AGFI = 0.96 ค่า RMSEA = 0.000)
    3. การสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

ABSTRACT
  The purpose of this research were to develop the effective key performance indicator of schools to test the consistency of developed effective structure model of schools with empirical data and to develop effective key performance indicator handbook of schools under Nongkhai Primary Educational Service Area office 2. The process of this study was divided in to 3 phases: phases 1) the development of the effective key performance indicator of schools by employing related documentary and research analysis, phase 2) the testing of effective structure model of schools by using confirmatory factor analysis, phase 3) the development of effective key performance indicator handbook of schools which the data were collected from 420 administrators and teachers of schools under Nongkhai Primary Educational Service Area office 2. The collected data were analyzed by software program. Five rating scale questionnaire with validity value between 0.60-1.00 and reliability value by using Cronbach's Alpha Coefficient at 0.99 was employed as research instrument.
  The findings revealed that:
    1. The effective key performance indicator handbook of schools under Nongkhai Primary Educational Service Area office 2 comprised of four core components, 17 subcomponents, and 70 indicators which can be distinguished as 19 indicators for work satisfaction, 11 indicators for students improvement competency, 22 indicators for school environment, and 18 indicators for learning organization.
    2. The effective structure model of schools under Nongkhai Primary Educational Service Area office 2 was consistent with empirical data with Chi-square value = 70.81, degree of freedom (df) = 71, statistical significance (P-value) = 0.484, Goodness of fit index (GFI) = 0.96, and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.000.
    3. The development of effective key performance indicator handbook of schools under Nongkhai Primary Educational Service Area office 2 the appropriated level is in the highest.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ยุพิน อินธิแสง

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร