การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Main Article Content
Abstract
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
DEVELOPMENT OF GUIDANCE ADMINISTRATIVE MODEL IN SCHOOLS UNDER THE SECONDARYEDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 21
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2) ศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่างรูปแบบการบริหารงานแนะแนวและนำรูปแบบไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 136 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50 - 0.91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ประเภทบุคคล/องค์กร ประเภทวิธีการ ประเภทสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ ภาระงานแนะแนว ประกอบด้วย งานบริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคลงานบริการสารสนเทศ งานให้คำปรึกษา งานบริการจัดวางตัวบุคคล งานบริการติดตามผล และกระบวนการบริหารงานแนะแนว ประกอบด้วย การวางแผนงานแนะแนว การปฏิบัติงานแนะแนว การติดตามนิเทศประเมินผลและรายงานผลงานแนะแนว การปรับปรุงงานแนะแนว และ 3) ด้านผลผลิต ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนและคุณภาพของผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด
2. รูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45)
ABSTRACT
The objectives of this study were 1) to develop guidance administrative model in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21; 2) to study the suitability of the guidance administrative model in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21, which was developed by the author. The study was conducted in 2 phases. The first phase was the study of relevant principles, theories and existing research studies, the drafting of guidance administrative model and the approval of the model by experts. The second phase was the verification of the author’s guidance administrative model in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21. The sample group consisted of school administrators and teacher-counselors from schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 in the academic year 2014 (B.E. 2557), totally 136. The samples were chosen through multi-stage sampling. The research instrument used in this study was a set of 5 rating scale questionnaire with the discrimination power between 0.50 – 0.91 and overall reliability value at 0.99. Statistics used to conduct a data analysis were percentage, mean () and standard deviation (S.D.)
The results were as follows :
1. Guidance administrative model in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 comprised 3 major factors, namely 1) Support factor, which covered personnel/organization, methods and facilities; 2) Process factor, which could be divided into 2 areas, namely the scope of guidance and guidance administration process. Scope of guidance included individual inventory service, information service, counseling service, placement service and follow-up service. On the other hand, guidance administration process consisted of 4 steps, which were planning, performing, checking (supervision) and, lastly, report and improvement ; 3) Outcome factor, which comprised students' desirable characteristics and quality of students as specified by the institution.
2. In an overall, the suitability of the developed guidance administrative model in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 was at the high level with the mean value () at 4.45.
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร