ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Main Article Content

ตุลภัทร บุญเติม

Abstract

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

FACTORS AFFECTING INTEGRATED TEACHING OF TEACHERS UNDER LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และ 4) เพื่อสร้างสมการที่ดีที่สุดในการพยากรณ์การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2557 สำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-Stage Random Sampling) และสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ครูและแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
   ผลการวิจัย พบว่า
      1. ผลศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครู สรุปได้ดังนี้ (1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเห็นด้วยกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครู ในทุกปัจจัย (2) ผลการวิคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครู พบว่า ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ปัจจัยด้านเจตคติต่ออาชีพครู อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูมีการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก
      2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (X) และการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครู (Y) สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาเลย 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกในทุกปัจจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์สูงที่สุด คือ การสนับสนุนส่งเสริมจากผู้บริหาร (X8) รองลงมา คือ พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของครู (X7) แรงจูงใจในการทำผลงาน(X6) ความร่วมมือของผู้ร่วมงาน (X9) ประสบการณ์ในการสอน (X2) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน (X3) เจตคติต่ออาชีพครู (X1) การสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ทางบวกในห้องเรียน (X5) ตามลำดับ และตัวแปรพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเกณฑ์ต่ำที่สุด คือ การคงอยู่ในงานอาชีพครู (X4)
      3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การสนับสนุนส่งเสริมจากผู้บริหาร (b_{i} = 0.338, β= 0.549) ประสบการณ์ในการสอน (b_{i} = 0.154, β = 0.267) ความร่วมมือของผู้ร่วมงาน (b_{i} = 0.100, β = 0.136) พฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของครู (b_{i} = 0.108, β = 0.130) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน (b_{i} = 0.081, β = 0.073) และการสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ทางบวกในห้องเรียน (b_{i} = 0.044, β= 0.050) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.887 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ปรับค่า (R2adj ) เท่ากับ 0.784 ตัวแปรทั้ง 6 ตัว สามารถทำนายร่วมกันได้ร้อยละ 78.40 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SEest) เท่ากับ 0.21880
      4. สมการที่ดีที่สุดในการพยากรณ์การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 สรุปได้ดังนี้
         สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
           \hat{Y} = 0.399 +0.388X8+0.154X2+0.100X9+0.108X7+0.081X3+0.044X5
         สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
            \hat{Z} = 0.549Z_{x_{8}} +0.267Z_{x_{2}} +0.136Z_{x_{9}} +0.130Z_{x_{7}} +0.073Z_{x_{3}} +0.050Z_{x_{5}}

ABSTRACT
   The purposes of this research were 1) to investigate the level of factors affecting the integrated teaching management and teachers’ integrated teaching, 2) to describe the relationship between the factors affecting the integrated teaching management and teachers’ integrated teaching, 3) to inquire the factors affecting the teachers’ integrated teaching, and 4) to construct the best equation to predict the teachers’ integrated teaching. The research samples were teachers under Loei Primary Educational Service Area Office1. The multi-stage random sampling was applied for 400 teachers for quantitative data collection while the purposive sampling was applied for 24 teachers for qualitative data collection. The research instruments were an interview and a 5-point rating scale questionnaire. The data were analyzed by statistical software package program to obtain percentage, mean, standard deviation, Pearson moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.
   The research findings were as follows :
      1. The levels of the factors affecting the teachers’ integrated teaching management was summarized as follows :
         1.1 For the qualitative data analysis, the teachers accepted all of the factors affecting the teachers’ integrated teaching.
         1.2 For the quantitative data analysis, the result showed that the level of the all of the factors affecting the integrated teaching management and teachers’ integrated teaching were found at a high level except the aspect of attitude towards teaching profession was evidently found at the highest level. Nevertheless, the teachers’ integrated teaching was found at a high level.
      2. The relationship between the factors affecting the integrated teaching(X) and the teachers’ integrated teaching (Y) was positively correlated in all factors with the statistical significance at .01 level. The predictor variables correlated with the criterion variables at the highest level was the encouragement by the administrators (X8), followed by the teachers’ behavior towards teaching management focused on student-centered approach (X7), motivation for academic standing (X6), the collaboration with the colleagues (X9), teaching experience (X2), morale in task operation (X3), attitude towards teaching profession (X1), creating a positive learning atmosphere in a classroom (X5) respectively. The predictor variable correlated with the criterion variable at the lowest level was the teacher retention with work engagement (X4)
      3. The factors affecting the teachers’ integrated teaching with the statistical significance at .01 level was the encouragement by the administrators(b_{i} = 0.338, β = 0.549), then the teaching experience (b_{i} = 0.154, β = 0.267), the collaboration with the colleagues (b_{i} = 0.100, β= 0.136), the teachers’ behavior towards teaching management focused on student-centered approach (b_{i} = 0.108, β= 0.130), morale in task operation (b_{i} = 0.081, β = 0.073) and creating a positive learning atmosphere in a classroom (b_{i} = 0.044, β = 0.050) respectively. The multiple correlation coefficient (R) was0.887, the six predictor variables were able to predict 78.40% (R2adj = 0.784) and the standard error (SEest) was 0.21880.
      4. The construction of the best equation to predict the teachers’ integrated teaching could summarize in raw and standardized scores as follows:
         The predictive equation in raw scores was:
            \hat{Y} = 0.399 +0.388X8+0.154X2+0.100X9+0.108X7+0.081X3+0.044X5
         And the predictive equation in standardized scores was:
             \hat{Z} = 0.549Z_{x_{8}} +0.267Z_{x_{2}} +0.136Z_{x_{9}} +0.130Z_{x_{7}} +0.073Z_{x_{3}} +0.050Z_{x_{5}}

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ตุลภัทร บุญเติม

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย