รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

วิมลรัตน์ พลหาญ

Abstract

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Causal Relationship Model of Factors Affecting to Learning Organization Status of Schools Under Secondary Educational Service Area Office 23

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบเชิงสมมติฐาน จากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 360 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้สถานภาพเป็นชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และใช้โปรแกรม LISREL 8.52 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านการจูงใจ และปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ

2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบที่พัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืน (\bar{x}= 67.27, p-value = 0.999, df = 109, RMSEA = 0.000 GFI = 0.98, AGFI = 0.97) ค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปหาน้อย เป็นดังนี้ 

อิทธิพลทางตรง ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ปัจจัยด้านการจูงใจ
อิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ
อิทธิพลรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านการจูงใจ
เมื่อพิจารณาค่าอำนาจการพยากรณ์ พบว่า ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ด้านการจูงใจ และปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ สามารถร่วมกันอธิบายการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้
ร้อยละ 64 ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ สามารถอธิบายโครงสร้างองค์การ ได้ร้อยละ 56 ปัจจัยด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ และด้านภาวะผู้นำ สามารถร่วมกันอธิบายการจูงใจ ได้ร้อยละ 45 ตามลำดับ

ABSTRACT
The objectives of this study were 1) to study factors affecting to learning organization status of schools under the Secondary Educational Service Area Office 23, 2) to develop a causal relationship model of factors affecting to learning organization status of schools under the Secondary Educational Service Area Office 23, and 3) to investigate the consistency of a causal relationship model of factors affecting to learning organization status of schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 and the empirical data. The study was conducted into two phases: phase I construct and develop the hypothetical model through document inquiries, phase II to investigate the consistency the hypothetical model and the empirical data. The research instrument was a rating scale questionnaire with discrimination power values ranging from 0.30 to 0.82 and reliability coefficients was 0.97. The samples used in this study comprised of 360 school administrators and teachers in school under secondary educational service area office 23, obtained through Stratified Random Sampling. The computer software program was employed to analyze the data in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The LISREL version 8.52 program was applied to analyze the confirmatory factor analysis, and to test the consistency of the developed model and the empirical data.
The findings were as follows:
1. There were 4 factors affecting of learning organization status of schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 which were climate and culture, leadership, motivation, and organization structure.
2. The consistency of a causal relationship model of factors affecting to learning organization status of schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 developed by author and the empirical data showed that they were consistent (\bar{x} = 67.27, p-value = 0.999, df = 109, RMSEA = 0.00 GFI = 0.98, AGFI = 0.97). The factors of direct, indirect and total effect toward the learning organization status of schools ranged from high to low


Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

วิมลรัตน์ พลหาญ

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร