รูปแบบและต้นทุนการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุพัฒน์ เงาะปก

Abstract

บทคัดย่อ

                  เห็ดขอนขาว(Lentinussquarrosulus Mont.)เป็นเห็ดเศรษฐกิจที่เกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี นิยมเพาะกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นพืชผักที่ใช้น้ำน้อยในระบบการผลิต มีคุณค่าทั้งด้านโภชนะ และด้านสมุนไพร มีผลผลิตออกมาสู่ตลาดอย่างแพร่หลาย จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุบลราชธานี  (2)เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเห็ดขอนขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มศึกษาคือเกษตรกรรายย่อยที่ผลิตเห็ดขอนขาวในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 37 ราย เป็นการเก็บข้อมูลทั้งประชากร เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกต และการประชุมกลุ่มย่อย ระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม2558


                  ผลการวิจัยพบว่า


                  รูปแบบการผลิตขอนขาวของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกเป็น2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการผลิตก้อนเชื้อและเปิดดอก2) รูปแบบการซื้อก้อนเชื้อมาเปิดดอก ในแต่ละรูปแบบมีขั้นตอนการผลิตเห็ดที่แตกต่างกันคือแบบที่ 1 มีขั้นตอนการผลิต  10 ขั้นตอน คือ(1) การทำก้อน (2) การนึ่งฆ่าเชื้อ (3) การหยอดและพักก้อนเชื้อ (4) การเปิดดอก (5) โรงเรือนเปิดดอก (6) การวางก้อนเชื้อ (7) การเปิดปากถุง (8) การดูแลรักษา (9) การเก็บผลผลิตและการจำหน่าย และ(10) การทิ้งก้อนรูปแบบที่ 2 มี 7ตอน คือตั้งแต่ขั้นตอนที่ 4-10  และสำหรับต้นทุนและผลตอบแทน พบว่ารูปแบบที่ 1 มีต้นทุนการผลิต 4.79 บาท/ก้อน ส่วนรูปแบบที่ 2 มีต้นทุนการผลิต 5.98 บาท/ก้อน ซึ่งสูงกว่ารูปแบบแรกเท่ากับ 1.19  บาท/ก้อน ส่วนด้านผลกำไร พบว่ารูปแบบที่ 1 มีกำไร 15.35 บาท/ก้อน  ในขณะที่รูปแบบที่ 2 มีกำไรเท่ากับ  10.99 บาท/ก้อน และจากการวิเคราะห์รายได้จากการผลิต พบว่ารูปแบบที่ 1 มีกำไร 202,217.36 บาท/รอบการผลิต ส่วนรูปแบบที่ 2 มีกำไร 131,565.27  บาท/รอบการผลิต นอกจากนั้นยังพบว่าเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการผลิตเห็ด อีกทั้งวัตถุดิบในการผลิตยังมีราคาแพงอีกด้วย


 



 



*       นิสิตหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


      **     อาจารย์สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


***    อาจารย์สาขาการจัดการธุรกิจ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


 


ABSTRACT


              Khonkaomushrooms  (Lentinussquarrosulus Mont.) is popular economic mushroom for the farmers in the provinces due to they need less water in production systems. Khonkao mushrooms had both valuable nutrients and herbal properties .Moreover, Khonkao mushroom were produced to market more widely. The objectives of the research were to study 1) the model of mushrooms production of small farmers in the provinces 2) the costs and benefits of mushrooms production of small farmers in UbonRatchathani province. The research was a combination of quantitative research and qualitative research. The population in the study was 37 small farmers who produced Khonkao mushrooms in UbonRatchathani.The research instrument were structured interviews, observation and group discussion conducted during January to December 2558


The  findings  were  as  follows;


                The model of Khonkao Mushroom production in UbonRatchathani including 2 models 1)Infected mushroom loaf own production and mushroom turning 2)Buying Instant Infected mushroom loaf and mushroom turning. The first model including 10 steps of production 1)Infected mushroom loaf preparation 2)Steam sterilization3)Dropping and Mushroom loaf Resting 4)Mushroom Sprouting 5)Mushroom nursery 6)Infected Mushroom loaf  laying 7)Infected Mushroom loaf opening 8)Maintenance 9)Harvesting and selling 10)Mushroom loaf wasting


The second model including 7 steps of production that were the same as step 4 to 10 of the first model. In aspect of the cost of mushroom production, the first model cost 4.79 Baht/ infected mushroom loaf where the second model cost 5.98 Baht/Infected mushroom loaf or 1.19 Baht higher than the first model. In aspect of the benefit, first model was 15.35Baht/ Infected Mushroom loaf where the benefit of the second model was 10.99 Baht/ Infected mushroom loaf. In aspect of incomes, the incomes of first model were 202,217.36 Baht /production cycle where second model were 131,565.27Baht/production cycle. Moreover, it was found that the mushroom farmer lack of knowledge to correctly produce mushrooms, the raw material was expensive too.

Article Details

Section
บทความวิจัย