แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยไชยสมบัติเทคโนโลยี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

อ้อย สีหามะนีวง

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายการวิจัย เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยฯ 2) เพื่อศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยฯ และ 3) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยฯ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และอื่นๆ ของวิทยาลัยฯ รวมจำนวน 45 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาใหม่ ผ่านการทดสอบคุณภาพทั้งด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ

                 ผลการวิจัย พบว่า

                 1. สภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ

                 2. ความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยฯ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แนวคิดการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือ แนวคิดการบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคล ตามลำดับ

                 3. แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของวิทยาลัยฯ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ ควรส่งเสริมให้มีการใช้ฯ ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประมวลผลสนับสนุนเรียนการสอน และการวิจัยคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรมีการลงทุนนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาอย่างเหมาะสม รวมถึงใช้ติดตาม การประเมิน และรายงานผลการใช้งบประมาณประจำปี การบริหารการคลัง และการเงินและบัญชี 3) ด้านการบริหารงานบุคคล ควรส่งเสริมให้มีการใช้ฯ ในการสอนการปฏิบัติงานประจำวัน การสรรหาบุคลากร และการบรรจุแต่งตั้ง ประเมิน/ติดตามผลงาน การรายงานความก้าวหน้าเพื่อการปรับตำแหน่งหรือขั้นเงินเดือนของบุคลากร  และ 4)  ด้านการบริหารงานทั่วไป ควรพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน การติดต่อประสานงานภายในวิทยาลัยฯ การพัฒนาเครือข่ายทางการศึกษา งานประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ของวิทยาลัยฯ

Article Details

Section
บทความวิจัย