การพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Main Article Content

เอมมิกา วัชรสุทธิพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน  ด้านการส่งเสริมการอ่านจากกลุ่มครอบครัว  ด้านการส่งเสริมการอ่านจากกลุ่มเพื่อน  ด้านการส่งเสริมการอ่านจากครูและโรงเรียนกับประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน  และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์  เขต  3 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตอนที่ 1 และแบบสอบ ถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตอนที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน

              ผลการวิจัย พบว่า

1.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต  3 โดยรวมและรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง     

2.  ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์  เขต  3 โดยรวมและรายข้อพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก

3.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนกับประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์  เขต  3 โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. สมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการอ่านจากกลุ่มครอบครัว  และด้านการส่งเสริมการอ่านจากครูและโรงเรียน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต  3 โดยรวม ได้ร้อยละ 58.9 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน  ดังนี้

 

           = 1.116 + .640 (X3) + .130 (X1)

            =  .682 (Z3) + .144 (Z1)

Article Details

Section
บทความวิจัย