การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ศรายุทธ รัตนปัญญา

Abstract

การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
THE DEVELOPMENT OF A COMPETENCY EVALUATION MODEL WITH APPLICATION OF EMPOWERMENT EVALUATION FOR NEW SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION

 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างรูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ (2) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  215 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสำรวจความต้องการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยองค์ประกอบ (1) วัตถุประสงค์ของการประเมิน (2) สิ่งที่มุ่งประเมิน (3) เกณฑ์การประเมิน (4) วิธีการประเมิน (5) การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนา สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ประกอบด้วย (1) สมรรถนะด้านวิชาชีพ (2) สมรรถนะด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง  และ (3) สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร การประเมินแบบเสริมพลังแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ การรวบรวมข้อมูลการกำหนดเป้าหมาย การพัฒนากลยุทธ์ และการจัดหาหลักฐานแสดงความก้าวหน้า โดยการประเมินแบบเสริมพลังใช้ยุทธวิธีในการดำเนินการ คือ การฝึกอบรม การอำนวยความสะดวก  การให้การสนับสนุน การสร้างความกระจ่าง และการให้เสรีภาพในการตัดสินใจปฏิบัติ และ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีคุณภาพระดับมาก ทั้งด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้องและความพึงพอใจ ผู้บริหารสถานศึกษาใหม่มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะในระดับมาก

Article Details

Section
บทความวิจัย