ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ธนภัทร วันทาพงษ์

Abstract

ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด
ADMINISTRATORS’ COMPETENCY FACTORS AFFECTING THE EFFICIENCY OF SCHOOL- BASED MANAGEMENT OF SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 27, ROI-ETPROVINCE

 

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 27  จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน  52  โรงเรียน  กำหนดผู้ให้ข้อมูลตอบแบบสอบถามในแต่ละโรงเรียน คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 260  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า

                 1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด  ในภาพรวม มีสมรรถนะอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีสมรรถนะอยู่ในระดับสูงมากทุกด้าน  โดยสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ  สมรรถนะด้านการตัดสินใจ ส่วนสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สมรรถนะด้านการพัฒนาบุคลากร 

                 2. ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด  ในภาพรวม มีประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการบริหารจัดการที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม

                 3.  ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการพัฒนาบุคลากร การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การทำงานเป็นทีม และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในภาพรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  และสมรรถนะการบริการที่ดี สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในภาพรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยสมรรถนะทั้ง 5 ด้านนี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้ ร้อยละ  84.7  

Article Details

Section
บทความวิจัย