การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ เพื่อสนับสนุนประสิทธิผลการดำเนินงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ: กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

Main Article Content

มโนชัย สุดจิตร

Abstract

การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ เพื่อสนับสนุนประสิทธิผลการดำเนินงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ: กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ENTERPRISE RISK MANAGEMENT SUPPORTS FOR ORGANIZATIONAL EFFECTIVENESS IN SPECIAL FINANCIAL INSTITUTIONS: A CASE STUDY OF BANK FOR AGRICULTURE AND AGRICULTURAL COOPERATIVES

 

บทคัดย่อ

 

          การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การกับประสิทธิผลการดำเนินงานของธ.ก.ส. และนำผลที่ได้มาปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การของ ธ.ก.ส. ให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล  ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำข้อค้นพบจากการทบทวนวรรณกรรม
มากำหนดกรอบ และสมมุติฐานการศึกษาได้ 4 สมมุติฐาน คือ การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในด้านการมีประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ด้านการบริหารเพื่อเพิ่มมูลค่า และด้านการปรับตัวของ ธ.ก.ส. ใช้การศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องของธงก.ส. และนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์และแปรผลด้วยค่าสถิติ ทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธี Canonical correlation analysis  และใช้การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องและข้อมูลเชิงประจักษ์จาก
การดำเนินงานของ ธ.ก.ส. มาสอบทานและยืนยันผลที่ได้จากการศึกษาเชิงปริมาณ

            ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การของธ.ก.ส. มีความสัมพันธ์ในระดับสูงและมีทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลการดำเนินงานของธ.ก.ส. ด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ด้านการบริหารเพื่อเพิ่มมูลค่า และด้านการปรับตัวขององค์การ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ (Path analysis) ขององค์ประกอบของตัวแปรเริ่มต้นของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม กลับพบว่าตัวแปรเริ่มต้นของตัวแปรต้น  คือ ข้อมูลและการสื่อสารเชิงความเสี่ยง เท่านั้น ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผล
การดำเนินงานเฉพาะด้านการสร้างความพึงพอใจผู้มีส่วนได้เสียเฉพาะกลุ่มพนักงาน และส่วนงานของรัฐเกี่ยวข้อง และด้านการปรับตัวของ ธ.ก.ส. เฉพาะในกิจกรรมการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง และการฝังรากการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมองค์การ

            จากผลศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ ธ.ก.ส. มีการพัฒนาระบบข้อมูลเชิงความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้บริหารได้มีบทบาทและเป็นผู้นำในการสื่อสารเชิงความเสี่ยง และให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในระดับธนาคารและระดับส่วนงานมีบทบาทและอิสระในการให้ความคิดเห็นเชิงความเสี่ยงเพิ่มขึ้น  

Article Details

Section
บทความวิจัย