ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาคณิตศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จันทรา ศรีมุกดา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  STAD  ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ความสามารถในการแก้ปัญหา  และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2556  จำนวน 29  คน  โรงเรียนบ้านยางโล้นเจริญราษฎร์ไพบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต 1  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค  STAD  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา  4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples และ t-test for One Samples)การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (One–way MANCOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One–way ANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)

           ผลการวิจัยพบว่า

             1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.73/74.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70  ที่กำหนดไว้

              2.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  มีดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.)  เท่ากับ  0.67

                 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    

                 4. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

                 5.  ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

                 6.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เทคนิค  STAD  โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียวพบว่าตัวแปรตามทั้ง 2 ตัวมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มี  GPA ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียวด้วยสถิติ One-way ANCOVA แล้วจึงทำการวิเคราะห์ภายหลัง (Post Hoc) ด้วยสถิติ Bonferoni แล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ดังกล่าว มีดังนี้

                      6.1  นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลาง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      6.2  นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูง มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนปานกลาง มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      6.3 นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน เมื่อเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค  STAD มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน

Article Details

Section
บทความวิจัย