ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น จังหวัดสกลนคร : กรณีศึกษา บ้านดงน้อย หมู่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น 2) พัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น 3) ศึกษาผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น จังหวัดสกลนคร : กรณีศึกษา บ้านดงน้อย หมู่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ภายหลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ เชิงคุณภาพและเชิงประมาณ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น จังหวัดสกลนคร การมีส่วนร่วมในบ้านดงน้อย หมู่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พบว่า ก่อนการสร้างยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมโดยรวมร้อยละ (63.27) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านสรุปได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการคิด ร้อยละ (44.73) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ร้อยละ (51.63) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ร้อยละ (89.09) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ร้อยละ (59.63) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ร้อยละ (96.73) และด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ร้อยละ (37.82)
2. การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น จังหวัดสกลนคร การมีส่วนร่วมในบ้านดงน้อย หมู่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยกลุ่มเป้าหมายมีข้อสรุปร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและสามารถปฏิบัติได้โดยการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหาโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis ได้มีประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การพัฒนาทักษะบุคลากร 2) การส่งเสริมอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน 3) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และได้ โครงการ 2 โครงการ คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น และด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น จังหวัดสกลนคร ภายหลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้ว พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 89.70)
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน, การอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูผาแด่น จังหวัดสกลนคร
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร