การพัฒนาแบบทดสอบทักษะการส่งลูกสั้นและลูกยาวในกีฬาแบดมินตันสำหรับนิสิตมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

อรนภา ทัศนัยนา

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบทักษะการส่งลูกสั้นและลูกยาว ในกีฬาแบดมินตันสำหรับนิสิต มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร                          


             แบบทดสอบมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน  หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (Index of Item – Objective  Congruence : IOC) ของแบบทดสอบทักษะการส่งลูกสั้น เท่ากับ 0.95 และการส่งลูกยาวเท่ากับ 1.00 โดยมีคะแนนรวมทั้ง 2 รายการ เท่ากับ 0.97       


             แบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการทดสอบซ้ำ (Test- Retest) และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้วยวิธีของเพียรสัน (Pearson  coefficient) ของแบบทดสอบทักษะการส่งลูกสั้นและการส่งลูกยาวในกีฬาแบดมินตันสำหรับนิสิตชาย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแต่ละรายการ มีค่าความเชื่อมั่นเชิงนิมานระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ( r = 0.80  – 0.89) และแบบทดสอบทักษะการส่งลูกสั้นและการส่งลูกยาวในกีฬาแบดมินตันสำหรับนิสิตหญิงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแต่ละรายการ มีค่าความเชื่อมั่นเชิงนิมานระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  (r = 0.89 - 0.07)


              แบบทดสอบมีความเป็นปรนัยของแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนจากการทดสอบทักษะการส่งลูกสั้นและการส่งลูกยาวในกีฬาแบดมินตัน จากการให้คะแนนของผู้ประเมินจำนวน 2 ท่าน ตามวิธีของเพียร์สัน  แสดงว่า  แบบทดสอบการส่งลูกแบดมินตันสำหรับนิสิตชายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการให้คะแนนของผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย มีค่าความเป็นปรนัยเชิงนิมานระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.98  - 0.99) และสำหรับนิสิตหญิงค่าความเป็นปรนัยเชิงนิมานระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  (r =1.00  -  1.00) สรุปว่าแบบทดสอบทักษะการส่งลูกสั้นและการส่งลูกยาวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้สำหรับทดสอบทักษะแก่นิสิตได้

Article Details

Section
บทความวิจัย