ระดับของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร ์ ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลย ์ ีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ A Level of Achievement Motivation in Learning Mathematics of Students in School of Science and technology Bangkok University
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จําแนกตามเพศ ชั้นปี ภาควิชา ภูมิลําเนา และแผนการเรียนก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาคณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จํานวน 185 คน ซึ่งมีนักศึกษาตอบ แบบสอบถามกลับมาจํานวน 151 คน ทําการวิเคราะห์ข้อมูล โดยคํานวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent – Samples T – Test และ One – Way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ระดับของแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีภูมิลําเนาต่างกัน และมีแผนการเรียนก่อนเข้า เรียนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพท่ีแตกต่างกัน มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยรวมทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้านความกระตือรือร้นทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้านความมีเอกลักษณ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์มากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการ คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟแวร์มีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยรวมทุกด้าน มากกว่านักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
Section
บทความวิจัย
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร