การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

Main Article Content

เชิดพงศ์ ชาชุมวงศ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 50 ขึ้นไป  2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ก่อนและหลังการเรียนรู้  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  3) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา  ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์  และความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ต่างกัน  หลังการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม  อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม  จำนวน  32 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  เรื่อง การเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  3) แบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์  4) แบบสอบถามวัดความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.)  สถิติทดสอบค่าที t – test (Dependent Samples)  การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว  (One-way MANCOVA)  และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                 1.  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.57  แสดงว่า  นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหา เป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 57  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 50 ขึ้นไป

                 2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญ          ทางสถิติที่ระดับ .05  แสดงว่า  การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลอง                       ทางคณิตศาสตร์  ทำให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                 3.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  มีทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แสดงว่า  การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนมีทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

                 4.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แสดงว่า  การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์  ทำให้นักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน

                 5.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ต่างกัน  หลังได้รับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์  และความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่  พบว่า

                      5.1  นักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูง มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียน ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ปานกลางและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ปานกลาง
มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ .05

                      5.2  นักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูง  มีทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียน ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ปานกลางและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ปานกลาง
มีทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                      5.3  นักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูง มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน สูงกว่านักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์
ปานกลางและต่ำ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนนักเรียนที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์ปานกลางและต่ำ  มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนไม่แตกต่างกัน

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

เชิดพงศ์ ชาชุมวงศ์

สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร