การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียน แบบร่วมมือด้วยเทคนิคSTADกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านอินทร์แปลง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจ4)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านอินทร์แปลง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบวัดความพึงพอใจ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหาคุณภาพด้วยค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t - test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One – way MANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA)
ผลการเรียนรู้พบว่า แผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคSTAD2) มีประสิทธิผลเท่ากับ 0.77 แสดงว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.77 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลังเรียนด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน หลังเรียนด้วยกลวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความพึงพอใจต่อการเรียนไม่แตกต่างกัน
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร