อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบแปรสภาพ ความสามารถของบุคลากร พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต่อผลการปฏิบัติงานบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่อง อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบแปรสภาพ ความสามารถของบุคลากร พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์ประการที่หนึ่งเพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ ประการที่สองเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถของบุคลากรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ประการที่สามเพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบแปรสภาพต่อความสามารถของบุคลากรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นบุคลากรสายวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนทั้งสิ้น 39,839 คน ใช้การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของ Yamane ผลการคำนวณกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 397 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
ผลการปฏิบัติงานบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ด้านการสอนบุคลากรสายวิชาการมีจำนวนชั่วโมงการสอนโดยเฉลี่ย 11.96 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีค่าสูงสุดที่ 35 ชั่วโมง ด้านการวิจัยมีค่าเฉลี่ยที่ 2.52 ชิ้นในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดถึง 31 ชิ้น ด้านการบริการทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยที่ 7.71 ครั้งในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดถึง 100 ครั้ง ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยที่ 5.69 ครั้งในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดถึง 73 ครั้ง
ความสามารถของบุคลากรมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใน 3 ด้านคือ ด้านการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ในขณะที่พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใน 2 ด้านคือ ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ภาวะผู้นำแบบแปรสภาพไม่มีอิทธิพลต่อความสามารถของบุคลากร แต่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร